การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • อมรพรรณ สีสุข โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
  • ฉันทนา ปาปัดถา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

สภาพปัจจุบัน , ความต้องการ , สื่อการเรียนการสอน , วิชาการงานอาชีพ , ระดับมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับสภาพปัจจุบันการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 339 คน  ได้มาด้วยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.60) ความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา  โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.98) การทดสอบสมติฐาน พบว่า  เพศ และระดับชั้นต่างกันมีสภาพปัจจุบันการใช้สื่อการเรียนการสอนแตกต่างกันในรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน และเพศ และระดับชั้นต่างกันมีความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน

References

กนกพร กรวิศวยศ. (2559). ความต้องการในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดราษฎร์นิยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพ: คุรุสภาลาดพร้าว.

งานทะเบียนและวัดผล, (2565). สถิตินักเรียนประจำปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ. สืบค้น 31 สิงหาคม 2566, จาก https://www.acsp.ac.th/

จิรวรรณ ประภานาวิน. (2558). สภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอนของครูระดับประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1.

(การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธานี จันทร์นาง. (2558). สื่อการสอนเตรียมพร้อมครูสู่การสอนในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 15 มิถุนายน 2565, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/214241

น้อมจิต กิตติโชติพาณิชย์, กิตติ ลิปิธร, ฤชุตาติ์ พรพัฒนากุล และวรัฎฐา นกอยู่. (2557). ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้เจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 23(2), 51-66.

นิลุบล ทาตะชัย. (2564). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนของครูโรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร.

วารสารบัณฑิตศึกษา มรภ. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 6(2), 55-60.

เบญจมาศ เหมือนสุทธิวงศ์. (2554). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยสื่อประสม เรื่อง “ระบบสารสนเทศ และการนำไปใช้” ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ รหัส 3215 – 2004 สำหรับนักศึกษา ระดับชั้น ปวส.1/9 วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีธนาพณิชยการ เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554. เชียงใหม่: วิทยาลัยเทคโนโลยี

ศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่.

ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2560). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ลิ้นฤๅษี. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อวีดีโอช่วยสอน เรื่อง การกำเนิดและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม สำหรับนักศึกษาสาขางานยานยนต์. สืบค้น 25 สิงหาคม 2565, จาก http://online.lannapoly.ac.th/ Research/FileUpload/20150204_144655.pdf

ปิลันญา วงค์บุญ. (2550). การศึกษาคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วลัยนุช สกุลนุ้ย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูจากวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2), 2843-2854.

อารีรัตน์ แสนคำ และสิทธิญา ศรีจันทร์แก้ว. (2565). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนที่มีต่อการเรียนงานประดิษฐ์ในยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 14(1), 454-465.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Edition). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite

สีสุข อ., & ปาปัดถา ฉ. . (2023). การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(1), 39–52. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1958