การสำรวจความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คำสำคัญ:
ความต้องการศึกษาต่อ , ภาษาไทย , ภาษาจีน, อุตสาหกรรมการบริการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาภาษาไทยและภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ทัศนคติ และความสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดอื่น ๆ จำนวน 200 คน รวมถึงความเป็นไปได้ในการเปิดสอนหลักสูตรภาษาไทยและภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมการบริการ และช่องทางในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 45) ผู้ปกครองส่วนมาก (ร้อยละ 38) เป็นพนักงานบริษัทหรือรับจ้าง มีเหตุผลในการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคือโอกาสในการประกอบอาชีพ (ร้อยละ 43) นักเรียนวางแผนการศึกษาระดับปริญญาตรีโดยการศึกษาเต็มเวลาและหาโอกาสทำงานควบคู่กันตามความเหมาะสม (ร้อยละ 67.50) อาชีพที่คาดหวังคือการประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 41) ความคาดหวังในการศึกษาหลักสูตรนี้ส่วนมากต้องการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการ (ค่าเฉลี่ย 4.65) รองลงมาได้แก่ ต้องการเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมการบริการอย่างมืออาชีพ (ค่าเฉลี่ย 4.50) และการฝึกทักษะภาษาไทยและภาษาจีนอย่างมืออาชีพ (ค่าเฉลี่ย 4.35)
References
ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 201-207.
ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล. (2561). ยุทธศาสตร์จีนบนเวทีโลก เล่ม 2 : ความเคลื่อนไหวในปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2547). การสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยแก่ชาวต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, 4, 268 – 278.
น้ำฝน ลูกค้า. (2555). ความต้องการและความคาดหวังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2565). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2563). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.