พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 4,855 คน จากเขตการปกครอง จำนวน 7 ตำบล ซึ่งได้แก่ ตำบลบึงบา ตำบลบึงบอน ตำบลบึงกาสาม ตำบลบึงชำอ้อ ตำบลหนองสามวัง ตำบลศาลาครุ และตำบลนพรัตน์ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในอำเภอหนองเสือ ตำบลละ 50 คน รวมเป็น จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมด้านการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านพฤติกรรมการนอนหลับ และน้อยที่สุด คือ ด้านความรู้การดูแลตนเอง สำหรับผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพที่เคยทำ ค่าครองชีพ โรคประจำตัว และรายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพไม่แตกต่างกัน
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926
กัลยา มั่นล้วน, วิภาดา กาญจนสิทธิ์ และนิภา สุทธิพันธ์. (2562). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”, หน้า 889-897. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
กิ่งแก้ว ขวัญข้าว และผกากรอง ขวัญข้าว. (2561). สถานะทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561, หน้า 123-133. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.
ชลธิชา ไพจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรี. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi, 2(1), 85-103.
ธัญพร หล่อชัยวัฒนา. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(2), 94-104.
ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(3), 243-248.
นงลักษณ์ ทับประทุม. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผูสูงอายุ ตําบลหนองโสน อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิลาวัณย์ ชาดา, วิพา ชุปวา, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ และสุทิน ชนะบุญ. (2563). ภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 35-49.
พิมลพรรณ ดีเมฆ และจารุณี จันธิยะ. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ บ้านใหม่เสรีธรรม ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2, หน้า 612-619. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศันสนีย์ วงศ์ชนะ. (2565). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสุขศึกษา, 45(1), 181-191.
ศรีเมือง พลังฤทธิ์, เกษร สำเภาทอง, อารีย์ สงวนชื่อ และลำดวน โรจรัตน์. (2561). สถานะสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 69-78.
สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, นนท์ธิยา หอมขำ และคัติยา อีวาโนวิช. (2565). การสำรวจระบาดวิทยาปัญหาสุขภาพและความต้องการที่จำเป็นของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในพื้นที่เทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 199-210.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี และภูริทัต แสงทองพานิชกุล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 85-96.
อุบลทิพย์ ไชยแสง, นิวัติ ไชยแสง และลุกมาน มะรานอ. (2563). การศึกษาสุขภาวะทางจิต และมุมมองในการด าเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธทรณสุขภาคใต้, 7(1), 306-318.
Best, John W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Pender, NJ, Murdaugh, CL, & Parsons, MA. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.). USA: Pearson practice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.