เรื่องเล่าการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์สู่แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ พลอย อินสว่าง Rajamangala University of Technology Srivijaya https://orcid.org/0009-0001-0108-3894
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.60101/jla.2023.4.2.3201

คำสำคัญ:

เรื่องเล่า, การท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์, การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่าของนักท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ (Camper) และนำเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์อย่างยั่งยืน โดยการเล่าเรื่องราวผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ของผู้วิจัยและสะท้อนภาพความคิดของกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวที่ผู้วิจัยมีฐานะเป็น “คนในกลุ่ม” (Emic) ด้วยวิธีวิทยาแนวอัตชาติพันธุ์วรรณาเชิงวิพากษ์ (Critical Autoethnography) พร้อมด้วยนักกางเต็นท์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน เป็นผู้ร่วมสนทนา ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบไม่เป็นทางการ เน้นการร่วมสนทนาและการสร้างประสบการณ์ระหว่างกัน พร้อมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผลการวิจัยพบว่า กระแสสังคมในปัจจุบันส่งผลให้รูปแบบการท่องเที่ยวกางเต็นท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนด้านลักษณะพฤติกรรมของนักกางเต็นท์รุ่นใหม่ จึงทำให้ต้องมีแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ให้มีความยั่งยืนครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1) การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน มิติที่ 2) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบทางสังคม เศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น มิติที่ 3) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว และมิติที่ 4) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การท่องเที่ยวในรูปแบบการกางเต็นท์สร้างประโยชน์สูงสุด มีความยั่งยืนและคงอยู่ต่อไป

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/ProjectToPromoteSustainableTourism.pdf

กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล, สุภัทรา สังข์ทอง และนิมิต ซุ้นสั้น. (2565). การพัฒนาแกลมปิ้งเพื่อการท่องเที่ยว. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 94-109.

ชลธร ชำนาญคิด และอนุชยา ชำนาญคิด. (2559). การศึกษาปรับปรุงและบังคับใช้กฎระเบียบและมาตรการพิเศษเพื่อสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ชวลิต อภิหิรัญตระกูล และต่อลาภ คำโย. (2565). การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 41-51.

ชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 25-37.

ชานนท์ นัยนา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบางกะเจ้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณฐอัมรัตน์ อินทบำรุง และชมภูนุช หุ่นนาค. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะสมุย. Journal of Administrative and Management Innovation, 9(2), 82-96.

ธรรมจักร เล็กบรรจง, วันวิสาข์ พลอย อินสว่าง และจิระนาถ รุ่งช่วง. (2565). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 81-110.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-118.

วนัฎภรณ์ ทองฤทธิ์. (2564). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวกรณีศึกษา : หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สิทธิชัย สวัสดิ์แสน และปริญญา นาคปฐม (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายกภายหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 38-55.

สุจิตรา ยางนอก, ลัญจกร นิลกาญจน์ และปัญญา เลิศไกร. (2566). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน. มนุษย์สังคมสาร (มสส.), 21(2), 279-300.

สุรางคนา ศรีสุทธิ. (2563). แผนธุรกิจ Home Camping (ธุรกิจแกลมปิ้ง และแคมป์ปิ้ง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ

Bangkok Bank SME. (2565). ธุรกิจ Camping รับเทรนด์ท่องเที่ยวหลังโควิด-19. SME start up. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/8start-ajar-technique-to-create-a-business-camping

Colaizzi, P. (1987). Psychological research as the Phenomenologist views it. In Valle R. & King M. (eds). Existential – Phenomenological Alternatives for Psychology. (pp.48-71). Oxford: Oxford University Press, London.

Font, X., Montano, L., Wu, J., Woosnam, A.C.K, & Li, S. (2023). The Purpose of a Sustainable Tourism Journal. Journal of Sustainable Tourism, 31(1), 1-13.

Global Sustainable Tourism Council: GSTC. (2566). Global Sustainable Tourism Criteria for Destination. Retrieved on January 19, 2023, from https://www.gstcouncil.org/

Khan, M. R., Khan, H. U. R., Lim, C. K., Tan, K. L., & Ahmed, M. F. (2021). Sustainable Tourism Policy, Destination Management and Sustainable Tourism Development: A Moderated-mediation Model. Sustainability, 13(21), 12156. https://doi.org/10.3390/su132112156

Macmillan, T. (1971). The Delphi Technique: Paper Presented at the Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Monterey: California.

Rogerson, C.M. and Rogerson, J.M. (2020). Camping Tourism: A Review of Recent International Scholarship. Geo Journal of Tourism and Geosites, 28(1), 349-359. https://doi.org/10.30892/gtg.28127-474

White, M.P, Alcock, I., Grellier, J., Wheeler, B.W., Hartig, T., Warber, S. L., Bone, A., Depledge, M.H. & Fleming, L.E. (2019). Spending at Least 120 Minutes a Week in Nature is Associated with Good Health and Well-being. Scientific Reports, 9, 7730. https://doi.org/10.1038/s41598-019-44097-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

How to Cite

อินสว่าง ว. พ. ., & ศิริวงศ์ พ. (2023). เรื่องเล่าการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์สู่แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(2), 28–42. https://doi.org/10.60101/jla.2023.4.2.3201