ภูมิปัญญาการแกะหนังตะลุงอัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุดาวรรณ์ มีบัว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช https://orcid.org/0009-0004-1220-442X

DOI:

https://doi.org/10.60101/jla.2023.4.2.3234

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา , ตัวหนังตะลุง , ยุคดั้งเดิม , ยุคร่วมสมัย

บทคัดย่อ

       ภูมิปัญญาการแกะหนังตะลุงของนครศรีธรรมราชเป็นภูมิปัญญาที่เคียงคู่กับศิลปะการแสดงหนังตะลุงมายาวนาน สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ ภูมิปัญญา มีการผลิตซ้ำ ผสมผสาน และสร้างใหม่ และมีการประยุกต์นำมาใช้ในบริบทใหม่ ๆ  ในปัจจุบัน พบว่าภูมิปัญญาการเลือกหนังสำหรับตัวหนังตะลุงยุคดั้งเดิมเลือกหนังจากลูกวัวหรือวัวรุ่น ยุคร่วมสมัยหนังสัตว์ที่ช่างนิยมนำมาแกะรูปหนัง คือ หนังวัวและหนังควายและมีหนังสัตว์อื่น ๆ  การเตรียมหนัง ยุคดั้งเดิมเมื่อได้หนังมาจะนำไปขึงให้ตึงเลาะพังผืดและมันที่ติดออกให้หมดแล้วนำไปฝังทราย การฟอกหนังยุคดั้งเดิมจะฟอกหนังโดยการนำไปแช่ในน้ำต้มผลส้มแขกหรือผลไม้รสเปรี้ยว ระยะเวลา 1-2 คืน ยุคร่วมสมัยจะแช่หนังที่ตากแห้งแล้วกับน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้พอมีรสเปรี้ยวแช่ไว้ชั่วโมงเศษ และบางครั้งมีการรับซื้อหนังที่ฟอกแล้วจากโรงงานมาใช้ทำตัวหนังด้วย ยุคดั้งเดิมรูปลักษณ์ของตัวหนังตะลุง ช่างจะใช้เหล็กจารหรือเหล็กขีดวาดลายลงบนตัวหนัง ยุคร่วมสมัยช่างเก็บแบบวาดของบรรพบุรุษเป็นต้นแบบในการสร้างตัวหนังตะลุงในปัจจุบัน การแกะหนังตะลุงยุคดั้งเดิมช่างจะเลือกส่วนหนังที่บางที่สุดสำหรับแกะส่วนบนและส่วนล่างของตัวหนังตะลุง ยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยกระบวนการแกะฉลุตัวหนังตะลุงมีเครื่องมือที่สำคัญ ได้แก่ เขียงสำหรับรองฉลุ อุปกรณ์การตอกด้วยตุ๊ดตู่หรือมุก และการแกะด้วยมีด  การลงสีตัวหนังตะลุง ยุคดั้งเดิมใช้ก้านใบจากหรือหวายมาใช้แทนพู่กัน การให้สีหลักคือสีดำ ยุคร่วมสมัยการลงสีหนังขึ้นอยู่กับลักษณะรูปและประโยชน์การใช้สอย การสร้างไม้ตับทั้งสองยุคจะใช้ไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป การทำคันยักสำหรับใช้ชักปากหนังตะลุง ยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยจะใช้ไม้ไผ่เหลานำมาดัดด้วยการลนไฟ หรือใช้พลาสติกมาเหลาให้กลมใช้หนังยางช่วยในยุคดั้งเดิมจะใช้เศษหนังในการมัด  การแกะหนังตะลุงยังคงเป็นภูมิปัญญาที่เป็นที่เกิดจากต้นทุนทางวัฒนธรรมสำคัญ มีการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และยังดำรงอยู่ได้อย่างน่าสนใจส่งต่อในยุคร่วมสมัย

References

กิตติพร ใจบุญ. (2564). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับทรัพย์สินทางปัญญา: ข้อจำกัดและช่องว่างทางกฎหมาย. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(2), 1-14.

จรูญ หยูทอง. (2559). การปรับตัวของหนังตะลุงในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง. วารสารรูสมิแล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 37(3), 42-52.

ชวน เพชรแก้ว. (2548). หนังตะลุงในประเทศไทย. สุราษฏร์ธานี: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ชวน เพชรแก้ว. (2556). หนังตะลุง : การวิวัฒน์ที่ลงตัวในฐานะวัฒนธรรมภาคใต้. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนานาชาติ “เสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน : ศิลปะการเล่นเงาอาเซียน”. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

เบญจวรรณ จันทร์พลูหลวง. (2545). หัตถศิลป์บนหนังตะลุงกับภูมิปัญญาชาวนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ปริตตา เฉลิมเผ่า ก่ออนันตกุล. (2525). ความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องในศิลปะหนังตะลุง. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิมล ดำศรี. (2549). หนังตะลุงชั้นครูคู่เมืองนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศิริพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฏี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สมัย สุทธิธรรม. (2550). หนังตะลุง. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

สุดาวรรณ์ มีบัว และคณะ. (2564). การจัดการทุนทางวัฒนธรรมหนังตะลุงจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้. วารสารทักษิณคดี มหาวิทยาลัยทักษิณ, 4(21), 22.

สุรินทร์ ทองทศ, เมธิรา ไกรนที และเชษฐา มุหะหมัด. (2566). หนังตะลุงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น. วารสารวิจัยวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, 5(2), 173-199.

เสรี พงศ์พิศ. (2534). สภาพปัญหาและทางเลือกของชนบทไทย. ใน การสัมมนาทางวิชาการเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Lim, S.L. (2013). The Role of Shadow Puppetry in the Development of Phatthalung Province, Thailand.

In Southeast Asia Club Conference Northern Illinois University, pp.1-19. Illinois: Northern Illinois University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

How to Cite

มีบัว ส. (2023). ภูมิปัญญาการแกะหนังตะลุงอัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(2), 101–112. https://doi.org/10.60101/jla.2023.4.2.3234