ความเชื่อ ความศรัทธา ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • เมทิกา พ่วงแสง หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร https://orcid.org/0009-0002-3623-1866
  • เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรุงเทพฯ

DOI:

https://doi.org/10.60101/jla.2023.4.2.3287

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง, ความเชื่อ, ความศรัทธา

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนําเสนอกิจกรรมความเชื่อ ความศรัทธา กับการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงให้เกิดแรงจูงใจและเกิดแรงผลักดันในการเดินทางทองเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสารทบทวนแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้กระบวนการศึกษาอิงพื้นที่ด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม พื้นที่วิจัยคือ จังหวัดพัทลุง แต่ไม่ได้อาศัยศึกษาในพื้นที่วิจัยที่ต้องอาศัยปรากฏการณ์อันสำคัญ (grounded theory) เป็นการวิจัยเอกสารสำคัญ ดังนั้นการพบข้อมูลต่าง ๆ จึงใช้หลักการแบ่งเป็นหมวดหมู่ด้วยเทคนิคการจัดกลุ่มร่วมกับเทคนิคการจำแนกประเภท

       ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อ ความศรัทธา ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ความเชื่อและศรัทธาที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ โนราโรงครูวัดท่าแค ซึ่งกลายเป็น soft power ของพัทลุง 2) ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเกจิอาจารย์หรือบุคคลสำคัญ คือ วัดเขาอ้อ มีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องของไสยเวทย์ด้วยที่มาของมือปราบแดนใต้              พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือ ขุนพันธ์ ตำนานจอมขมังเวท และเกจิอาจารย์ด้านไสยเวทย์พิธีกรรมต่าง ๆ 3) ความเชื่อที่มีความสัมพันธ์กับแนวคิดศาสนา คือ พระบรมธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว ซึ่งตามความเชื่อเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จากความเชื่อ ความศรัทธาทั้ง 3 ประเภท นำไปสู่การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อและความศรัทธา หรือการท่องเที่ยว "มูเตลู" ที่สร้างรายได้หมุนเวียนมหาศาลในพื้นที่ และทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว เชื่อมโยงกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อ และความศรัทธา ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวนอกเหนือจากปัจจัยภายในที่เกิดจากความเชื่อและความศรัทธาภายในตัวบุคคล ซึ่งมีผลต่อความคิดและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว

References

กลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้. (2526). ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. นครปฐม: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จำเป็น เรืองหิรัญ. (2564). ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุวัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564, จาก

https://www2.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=3313&filename=index

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). แนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(47), 173-197.

นิมิตรชัย ชูปู, เก็ตถวา บุญปราการ และปัญญา เทพสิงห์. (2559). การประกอบสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมของวัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7, หน้า 69-89. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกง ที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

ปิ่น บุตรี. (2557). โนราโรงครูวัดท่าแค” พัทลุง...สุดยอดงานโนรา ทรงคุณค่าคู่แดนใต้. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2566, จาก https://amp.mgronline.com/Travel/9590000052662.html

พงศ์อินทร์ นันทวงศ์, เรณู เหมือนจันทร์เชย และขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์. (2562). การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ศาลเจ้าพ่อขุนศรัทธาบ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. อินทนิลทักษิณสาร, 14(1), 43-63.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 35-43.

พระมหามนัสวี ฐิตธมฺโม (อารยะนรากูล). (2564). การจัดการความเชื่อที่มีผลต่อจิตใจเชิงพุทธ: กรณีศึกษาวัดเจดีย์ (ไอ้ไข่). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 61-76.

พิชคุณ อรรถเวชาสกุล และมนตรี วิวาห์สุข. (2566). พุทธ พราหมณ์ ผี : ความเชื่อและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมณ เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารศิลปศาสตร์(วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(1), 12-33.

ภริมา วินิธาสถิตย์กุล และพระมหาจิรฉันท์ จิรเมธี (โลวะลุน). (2558). คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 31-43.

เสฐียร พันธรังษี. (2524). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: แพร่พิยา.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. (2563). พิธีกรรมสำนักเข้าอ้อ พิธีกรรมแช่ว่านยา สํานักวัดเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2566, จาก https://www2.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=2260&filename=King

อธิป จันทร์สุริย์, สุดสันต์ สุทธิพิศาล และขวัญณภัทร ขนอนคราม. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ ความเป็นไทยตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(2), 140-161.

อธิป จันทร์สุริย์. (2564). มูเตลู: ความเชื่อกับการท่องเที่ยว. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 20(1), 220-240.

Art of Traveler. (2559). โนราโรงครูท่าแค ชีวิตที่ถูกกำหนดของเกรียงเดช ขำณรงค์. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2566, จาก

http://www.artoftraveler.com/

Crompton, J. (1979). Motivations of pleasure vacations. Annals of Tourism Research, 6(4), 408-424.

Dann, G. (1977). Anomie, Ego-enhancement and Tourism. Annals of Tourism Research, 4(4), 184-194.

MCOT DIGITAL. (2566). รู้จักขุนพันธ์ ที่เป็นมากกว่า มือปราบ จอมขมังเวทย์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2566, จาก

https://www.mcot.net/view/Kf18UoyT

Nye, Joseph S., Jr. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs.

Travel 360 travel around the direction. (2566). สืบสานศิลป์ถิ่นโนรา โนราโรงครูวัดท่าแค 2566. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม

, จาก https://www.facebook.com/traveltravel360

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

How to Cite

พ่วงแสง เ., & พวงสุวรรณ เ. (2023). ความเชื่อ ความศรัทธา ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(2), 58–71. https://doi.org/10.60101/jla.2023.4.2.3287