ทัศนคติของผู้โดยสารต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้โดยสารต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และมีอายุ 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นอายุที่บรรลุนิติภาวะและสามารถโดยสารเครื่องบินคนเดียวได้ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความน่าเชื่อถือ 0.975 จากการคำนวณหาขนาดตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 โดยการสุ่มหากลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ (ความแปรปรวนทางเดียว) ผลการวิจัยพบว่า ผู้โดยสารมีทัศนคติต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.236, S.D = .531) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้โดยสาร รองลงมาคือ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้โดยสาร ด้านการตอบสนองต่อผู้โดยสาร ด้านความเชื่อถือวางใจได้ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการตามลำดับ ในการเปรียบเทียบทัศนคติที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน พบว่า มีทัศนคติต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เฉลิมพล กิจรุ่งเรือง (2553). ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวไทยต่อการบริการของท่าอากาศยานภูมิกรุงเทพฯ
(ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.
พีระยุทธ คุ้มศักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อคุณภาพของสายการบินต้นทุนต่ำภายในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เบจญมิตรวิชการ ครั้งที่ 2 การบูรณาการความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน,
หน้า 1-11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
รัฐนันท์ พุกภักดี. (2557). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชาวไทยที่มีต่อสายการบินไทย (การค้นคว้าอิสระ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.
ศุภวิชช์ ชินรัตนลาภ (2558) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำเส้นทางภายในประเทศของผู้ใช้บริการชาวไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม.
อมรทิพย์ อาจสมิติ (2549). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้โดยสารที่มีต่อการใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ.
(ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Airports of Thailand. (2021.). Air Transport Statistic. Retrieved on March 15, 2021, from
http://investor.airportthai.co.th/transport.html
Airports of Thailand. (2021.). AOT Strengthen COVID-19 Measures to Ensure Passengers’
Confidence Travelling During the Outbreak. Retrieved on March 15, 2021, from
Best, John W. (2001). Research in Education. New Jersey: Englewood Cliffs..
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to
Theory and Research. Reading, MA: Addison-Wesley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.