ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • รังสฤษฎ์ กลิ่นหอม นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0005-3848-1625
  • อำนวย ทองโปร่ง รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.60101/jla.2024.5.1.4368

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ , บทบาทของผู้นำ , ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยจำแนกตาม วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต1 จำนวน 301 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจาการเปิดตารางสำเร็จรูปของโคเฮนและคณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ที่ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนภารกิจ ด้านการประเมินผลและตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการสอน ตามลำดับ ครูที่มีวุฒิการศึกษาและครูที่มีวิทยฐานะที่แตกต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนกำหนดภารกิจ คู่สถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดกลาง และคู่สถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และด้านการจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คู่สถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดใหญ่ และคู่สถานศึกษาขนาดกลางกับสถานศึกษาขนาดใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

กฤตกร น้ำทิพย์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

กิตติวรรณ แสนโท. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

กัลยา พรมทิพย์. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้, นครศรีธรรมราช.

เข็มนิษฐา พิมพ์ชื่น. (2564). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

จิติมา วรรณศรี. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), 35-47.

ฉัตรชัย จันทา. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารการศึกษาและภาะผู้นำ, 9(33), 245-255.

ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

ปวีณา ยุทธิจักร (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ปานหทัย ปลงใจ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

เพ็ญนภา พลับฉิม. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

มัลลิกา เชาว์ปัญญเวช. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

วิเชียร วรรณภากร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สมฤทัย อ่อนรัมย์. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาใน สหวิทยาเขตนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สิร์รานี วสุภัทร. (2551) ภาวะผู้นำทางวิชาการ และสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุภัคกาญจน์ ฤทธิ์ละคร. (2548). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุขฤทัย จันทร์ทรงกรด. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. ปราจีนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1.

เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อันธิยา ภูมิไธสง. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alig-Mielcarek, J. M., & Hoy, W.K. (2005). A theoretical and empirical analysis of the nature, meaning, and influence of instructional leadership. Ohio: The Ohio State University.

Bass, B.M. & Stogdill, R.M. (1990). Bass & Stogdill’s Handbook of Leadership: Theory Research, and Managerial Applications (3rd ed.). Columbus, Ohio: Collegiate Publishing

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research Methods in Education (7th ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9780203720967

McEwan, E. K. (2003). Ten traits of highly effective principals: From good to great performance. Thousand Oaks, CA: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

กลิ่นหอม ร. ., & ทองโปร่ง อ. . (2024). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 5(1), 27–39. https://doi.org/10.60101/jla.2024.5.1.4368