การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตองสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • อนงค์ รักษ์วงศ์ Rajamangala University of Technology Thanyaburi

คำสำคัญ:

การสร้างแบบทดสอบ, ทักษะกีฬาเปตอง, นักศึกษา, เกณฑ์ปกติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ พื่อสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตอง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ทักษะการโยนลูกเลียด ทักษะการโยนลูกโด่งระยะกึ่งโด่ง ทักษะการโยนลูกตีแบบเลียด และทักษะการโยนลูกตีแบบสองจังหวะ ประชากรเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเปตองในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 228 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบ และเกณฑ์ปกติ เป็นนักศึกษา จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัย พบว่า แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้ง 4 รายการ มีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.94, 0.98, 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ ค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.93, 0.92, 0.91 และ 0.87 ตามลำดับ สำหรับค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.97, 0.92, 0.95 และ 0.97 อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก และได้เกณฑ์ปกติทักษะกีฬาเปตอง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เห็นได้ว่า แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคุณภาพและใช้ทดสอบกับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีรียาสาสน์.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ พี.เอ็น. การพิมพ์.

บุญส่ง โกสะ. (2543). วิธีวิจัยทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ผาณิต บิลมาศ. (2550). การวัดทักษะทางการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ภูมิวิชญ์ พาสงค์. (2556). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเครือมหาไถ่ศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2541). หลักสูตรพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุวิมล ตั้งสัจพจน์. (2526). การวัดและประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Barrow, H.M. & McGee, R. (1971). A practical Approach to Measurement in physical Education (2nded). Philadelphia: Lea & Febiger.

Bucher, C.A. (1960). Foundation of Physical Education. Saint Louis: The C.V. Musky Company.

Kirkendall, D.R, J.J. Gruber and R.E. Johnson. (1987). Measurement and Evacuation for Physical Education. Illinois: Human Kinetics Publisher.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of

criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

รักษ์วงศ์ อ. (2022). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตองสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 3(1), 90–100. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/463