การใช้ “สเต็มศึกษา” พัฒนาการเรียนการสอน สาขาสังคมศาตร์ ภายใต้บริทบของ วิชาการวิจัยทางสังคมศาสตร์
คำสำคัญ:
สเต็มศึกษา, การพัฒนาการเรียนการสอน, การจัดการเรียนการสอนบทคัดย่อ
บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา โดยวิธีการใช้เทคนิค “สเต็มศึกษา” สำหรับการพัฒนารายวิชาทางสังคมศาสตร์ โดยผู้วิจัยได้ทดลองนำวิธีสเต็มศึกษามาใช้ปรับเทคนิคในการสอนเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในรายวิชาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งสเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ใน 4 วิชา คือ วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรมศาสตร์ ( E ) และคณิตศาสตร์ ( M )
ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ลงเรียนรายวิชาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และได้รับการสอนด้วย “สเต็มศึกษา” สามารถพัฒนาและมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นได้ดีที่สุดใน 3 ประเด็น คือ 1. สามารถเข้าถึงการสืบค้นเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างง่ายดาย 2. สามารถเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยมในระดับพื้นฐาน 3. สามารถวางแผนการออกแบบการวิจัยได้ด้วยตนเองทำให้งานวิจัยได้ผลอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
References
ทิพวัลย์ ขันธมะ, ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว, และเกษศิริ ทองเฉลิม. (2561). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ
การจัดการเรียนรู้แบบ STEM สำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(1), 43-50.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2557). สะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.
Billiar, K., Hubelbank, J., Oliva, T., & Camesano, T. (2014). Teaching STEM by design. Advance in Engineering Education, 4(1), 1-21.
Bybee, Rodger W. (2010). Advancing STEM Education: A 2020 Vision. Technology and Engineering Teacher Reston, 70(1), 30-35.
Corlu, M. S., Capraro, R. M., & Capraro, M. M. (2014). Introducing STEM education: Implications for educating our teachers in the age of innovation. Eğitim ve Bilim, 39(171), 74-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.