การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus
DOI:
https://doi.org/10.60101/jla.2024.5.2.4757คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus , การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ , วิจัยเชิงปฏิบัติการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอำนาจเจริญ จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จำนวน 3 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง ใช้เวลาทั้งหมด 9 ชั่วโมง แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบปรนัย 3 วงจรปฏิบัติการ วงจรละ 20 ข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.46 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 29 คน จากนักเรียนทั้งหมด 32 คนคิดเป็นร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สามารถตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน สรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้อย่างถูกต้อง
References
กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 10. (2565). รายงานการวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET, V-Net และ N-Net ปีการศึกษา 2564 ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 10. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2567, จาก https://reo10.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/06/ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน-ปีการศึกษา-2567.pdf
กัญญา เชื้อไชยนาท. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเอกสารจริงเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
จรัสกร เล็กตระกูล. (2553). การศึกษาความสามารถอ่านคําและความสนใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จากการใช้ชุดพัฒนาทักษะการอ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ธัญทิพย์ อารยางกูร และสิทธิพล อาจอินทร์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus ร่วมกับผังกราฟิก. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(2), 407-426.
บันลือ พฤกษะวัน. (2545). แนวทางพัฒนาการอ่านเร็ว คิดเป็น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2549). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริดา โอวาสิทธิ์. (2565). บทเรียนเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีKWL-Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: โรงเรียนอุตรดิตถ์.
สุมิตรา จุลธีระ และรัชกร ประสีระเตสัง. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เทคนิค KWL Plus หน่วยการเรียนรู้ Special Day เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 3(1), 57-69.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์และเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
อังชรินทร์ ทองปาน. (2561). การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: โรงพิมพ์โฟโต้บุ๊ค ดอทเน็ต.
Carr, E., & Ogle, D. (1987). KWL plus: A strategy for comprehension and summarization. Journal of Reading, 30, 626-631.
Conner, J. (2004). KWL Plus. Retrieved on January 8, 2024, from http;//www.users.Edle,Utwente/lanzing/ em home.html
Imam, M. (2018). Improving students’ reading skills through KWL strategy. Indonesia: Faculty of Tarbiyah and Teacher Training, Syarif Hidayatullah State Islamic University Jakarta.
Intasena, A., & Nuangchalerm, P. (2022). Problems and needs in instructing literacy and fluency of reading and writing skills of Thai L1 young learners. Journal of Education and Learning, 11(2), 63-70.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
Sari, K. I., Astrid, A., & Salsabila, M. (2023). Improving students’ reading comprehension by using KWL (know, want to know, learned) strategy. Jadila: Journal of Development and Innovation in Language and Literature Education, 3(2), 183-194.
Suci, D. N., Anggraini, M. P., Nadifah, I., & Marhumah, Q. (2023). The effect of integrating Socrative and KWL on students’ academic reading comprehension. Journal of Languages and Language Teaching, 11(4), 846-856.
Thongma, P. (2023). The development of literature learning activities on the topic of Rachathirat for Saming Pha Ram Arsa by Matthayomsuksa 1 students using the KWL Plus technique with cooperative learning. Shanlax International Journal of Education, 11, 180-188.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.