การศึกษาทัศนคติด้านแรงจูงใจและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชุมชนชาววัดมหาวนาราม เกี่ยวกับวัตถุมงคลของวัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
DOI:
https://doi.org/10.60101/jla.2024.5.2.4786คำสำคัญ:
ทัศนคติชุมชน , แรงจูงใจ, ความเชื่อ , วัตถุมงคล , วัดมหาวนารามบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของชาวชุมชนวัดมหาวนารามที่มีต่อวัตถุมงคลของวัดมหาวนาราม และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยึดถือวัตถุมงคลของวัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่อาศัยอยู่บริเวณชุมชนวัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีอายุระหว่าง 15 – 80 ปี จำนวน 50 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงจากกลุ่มเดียวกัน จำนวน 10 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล พบว่า ทัศนคติด้านแรงจูงใจของชุมชนเกี่ยวกับการครอบครองวัตถุมงคล ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่ 1) การมีวัตถุมงคลเพื่อส่งเสริมกำลังใจให้ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจการค้า ความสมหวังในอาชีพการงาน และความต้องการสมหวังในชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) พุทธศิลป์พิมพ์ลักษณ์พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง โดยมีกลุ่มนักสะสมวัตถุมงคลที่เก็บเป็นการอนุรักษ์เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่ายเกี่ยวกับพุทธศิลป์ 3) ความเชื่อถือจากเรื่องเล่าผ่านประสบการณ์คนในชุมชนเพื่อสร้างการสนับสนุนต่อวัตถุมงคลในนามพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลในการตัดสินใจนับถือวัตถุมงคลของวัดมหาวนาราม ประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม บริบทชุมชนมีความศรัทธาต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ซึ่งชุมชนถือว่าเป็นลูกหลานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผิดศีลธรรม เพื่อเป็นการจัดการชุมชนและสังคมให้สงบสุข 2) ผลิตภัณฑ์วัตถุมงคลมีความงามทางศิลปะล้านช้าง โดยกำหนดรูปพระพุทธเจ้าปางมารวิชัยบนฐานดอกบัวมักผลิตเป็นเหรียญทรงกลม รี สีเหลี่ยม กลีบบัว เสมา เนื้อเงิน ทองคำ รมดำ นวะ ทองแดง 3) ปัจจัยด้านราคาและช่องทางจำหน่าย ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย โดยพิจารณาจากสภาพความสมบูรณ์ของเหรียญที่ไม่มีตำหนิ อายุการใช้งานและรุ่นการผลิต ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาวัตถุมงคลเชิงกลไกธุรกิจและการแลกเปลี่ยนเชิงอำนาจ
References
จรัส พยัคฆราชศักดิ์. (ม.ป.ป.). เอกสารการสอนไทยคดีศึกษา ศาสนา และลัทธิในท้องถิ่น. มหาสารคาม: ปรีดาการพิมพ์.
ชาญชัย คงเพียรธรรม และคณะ. (2562). การผสานความเชื่อทางศาสนาในวัดทางพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาวัดในอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เบนาซิต เพียรรักษ์ และศรัณย์ ธิติลักษณ์. (2564). คตินิยมของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ. วารสารวิชาการ มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 18.
พระครูใบฎีกาทวีศักดิ์ ใต้ศรีโคตร, ส่งสุข ภาแก้ว และพัชรี สายบุญเยื้อน. (2563). พุทธพาณิชย์ในสถาบันพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์, 7(11), 424-439.
พระครูอนุกูลกัลยาณกิจ. (2564). พระพุทธศาสนากับการสร้างวัตถุมงคล. วารสารภาวนาสารปริทัศน์, 1(1), 79-96.
พระธรรมธรชัยสิทธิ์ ชยธมฺโม (ศรชัย). (2561). การบูชาวัตถุมงคลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมดีในทางพระพุทธศาสนาของประชาชน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.
สุชา จันทร์เอม. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Kelman, H. C. (1979). The Role of Action in Attitude Change. Retrieved on April 25, 2023, from https://scholar.harvard.edu/files/hckelman/files/Role_of_Action_1980.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.