แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ : มรดกทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุดาวรรณ์ มีบัว -

คำสำคัญ:

แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ , ฐานการเรียนรู้ , กิจกรรมความเชื่อความศรัทธา

บทคัดย่อ

การศึกษาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ มรดกทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนครศรีธรรมราชมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ประวัติความเป็นมา ความเชื่อชุมชน  พิธีกรรม ของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 3) การสร้างฐานการเรียนรู้แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยใช้วิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ การสำรวจสภาพพื้นที่ การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์  ถอดบทเรียนการพัฒนา โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้และพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์พัฒนา หาแนวทางสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางความเชื่อความศรัทธา 

ผลการวิจัยพบว่า แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองนครศรีธรรมราช มีคุณสมบัติครบองค์สามสามารถนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมให้เข้มขลังมีจำนวน  6  แหล่ง  คือ  แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อน้ำวัดหน้าพระลาน  แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อน้ำวัดเสมาเมือง  แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อน้ำวัดเสมาชัย  แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์บ่อน้ำวัดประตูขาว  แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ห้วยปากนาคราช  และแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ห้วยเขามหาชัย การพัฒนาต้องสร้างฐานการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนและสังคม   การเตรียมความพร้อมที่จะต้องเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ให้ดูดีน่าศรัทธา สะดวกแก่การเข้าถึงคนในบริเวณนั้นมี   ความผูกพันมีสำนึกต่อชุมชนค่อนข้างเข้มข้น มีพลังขับเคลื่อน เคลื่อนไหวกิจกรรม มีฐานความคิด ความเชื่อความศรัทธาในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังมากพอ จัดกิจกรรมความเชื่อ กิจกรรมเชิงกระบวนการทางสังคมให้เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกทั้งต่อแหล่งน้ำและต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง

References

เกษม จันทร์ดำ. (2551). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: กรีนโซนการพิมพ์.

เทิด ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ธิดา สาระยา. (2526). มณฑลอีสานและความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และพัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. สุทธิปริทัศน์, 27(83), 97–112.

วิเชียร ณ นคร และคนอื่นๆ. (2521). นครศรีธรรมราช. นครศรึธรรมราช: อักษรสัมพันธ์.

วิภา ศรีระทู. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2550). พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ห้วยเขามหาชัย. นครศรีธรรมราช: ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุดาวรรณ์ มีบัว และคณะ.(2552). การศึกษาศักยภาพแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เขามหาชัยเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม.

นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). จดหมายเหตุงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: ประยูรการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

มีบัว ส. . (2022). แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ : มรดกทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 3(1), 26–38. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/808