คุณภาพชีวิตของบุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • รฐนนท์ ทีน้อย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตของบุคลากร, เรือนจำ, สิทธิส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับศึกษาข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของบุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุ่มงาน ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของบุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.88, σ = 0.54) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวม (μ = 4.22, σ = 0.82) รองลงมาคือด้านลักษณะของงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโต ความก้าวหน้าและความมั่นคงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน (μ = 4.10, σ = 0.53) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรม และเคารพสิทธิส่วนบุคคล (μ = 3.45, σ = 0.85) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของบุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุ่มงาน ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่า บุคลากรเรือนจำอำเภอภูเขียว ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุ่มงาน ประสบการณ์ทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในเรือนจำอำเภอภูเขียว ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานที่ตนเองปฏิบัติเป็นประจำ

References

กรมราชทัณฑ์. (2555). มาตรฐานเรือนจำด้านการดูแลคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

กรมราชทัณฑ์. (2554). ตำนานคุกไทย. ภารกิจราชทัณฑ์ 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมราชทัณฑ์.

กนกวรรณ ทองคำ และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ : ศึกษากรณีเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและทัณฑสถานหญิงกลาง. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(1), 26-46.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.

พิทยา บวรวัฒนา. (2543). รัฐประศาสนศาสตร์ทฤษฎีและแนวการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทัศน์ ปัญสุวรรณ์. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการราชทัณฑ์ในจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุริยา หนูช่วย. (2549). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการเรือนจำกลางชลบุรี. ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

เผยแพร่แล้ว

06/21/2022