ปาณาติบาตในเบญจศีล: วิเคราะห์การใช้เครื่องจักรและโปรแกรมฆ่าสัตว์

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ยอดทอง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ปาณาติบาต, เบญจศีล, เครื่องมือฆ่า, เครื่องจักรฆ่า

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งวิเคราะห์ประเด็นการใช้เครื่องจักรและโปรแกรมฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ตามหลักเบญจศีลข้อปาณาติบาต โดยมี 2 กรณี คือ กรณีแรก การใช้เครื่องจักรฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ มีบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ออกแบบและผลิตเครื่องจักร 2) ผู้ซื้อหรือเจ้าของโรงงาน และ 3) คนงานที่ใช้เครื่องจักร และกรณีที่สอง การใช้โปรแกรมฆ่าหรือควบคุมเครื่องจักรฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ มีบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงในกระบวนการนี้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ออกแบบและผลิตโปรแกรมฆ่า 2) ผู้ซื้อโปรแกรมไปใช้หรือเจ้าของโรงงาน และ 3) คนงานที่ควบคุมหรือใช้โปรแกรมฆ่าในโรงฆ่าสัตว์ โดยพบว่า บุคคลกลุ่มที่ 1 ของทั้ง 2 กรณี อาจเข้าข่ายเป็นปาณาติบาตได้ ถ้ามีการโฆษณาคุณสมบัติของเครื่องจักรหรือโปรแกรมฆ่าด้วยหวังจูงใจให้เจ้าของโรงงานซื้อ ส่วนบุคคลกลุ่มที่ 2 ของทั้ง 2 กรณี อาจเข้าข่ายเป็นปาณาติบาตได้ใน 3 สถานะ คือ ผู้สั่งบังคับ (อาณัตติกประโยค) ผู้แสวงหาเครื่องมือฆ่าให้แก่คนงาน และผู้กล่าวพรรณนาคุณความตายหรือชักชวนเพื่อนให้ตั้งใจทำงาน และบุคคลกลุ่มที่ 3 ของทั้ง 2 กรณี อาจเข้าข่ายเป็นปาณาติบาตใน 2 สถานะ คือ ผู้ใช้เครื่องจักรหรือโปรแกรมฆ่า (ถาวรประโยค) และผู้กล่าวพรรณนาคุณความตายหรือชักชวนเพื่อนให้ตั้งใจทำงาน ส่วนพระพุทธศาสนามีมุมมองและท่าทีต่ออาชีพหรือการงานนี้ 5 ประการ คือ 1) การงดเว้นหรือไม่ประกอบอาชีพที่ผิดศีลธรรมแบบนี้ 2) ถ้าไม่มีทางเลือก ผู้กระทำจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า มันเป็นอาชีพที่ผิดศีลธรรม 3) ไม่ปฏิบัติด้วยมิจฉาทิฏฐิ คือ หลงเข้าใจผิดว่า เป็นอาชีพหรือการงานที่เป็นกุศล 4) ไม่พึงมีความรู้สึกยินดีในขณะปฏิบัติหน้าที่ของตน และ 5) หากมีทางเลือกอื่น ก็ควรเดินออกจากการประกอบอาชีพนี้ และหันไปประกอบอาชีพที่ดีถูกต้องตามหลักศีลธรรม

References

ปิ่น มุทุกันต์, พันเอก. (2539). แนวสอนธรรมะตามหลักสูตรนักธรรมตรี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปุณวัสส์ กิตติมานนท์. (2554). การศึกษาวิเคราะห์ปาณาติบาตในเซลล์มนุษย์และตัวอ่อนมนุษย์. บรรณาธิการโดย พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร). (2543). เบญจศีล เบญจธรรม และอุโบสถศีล. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39 (ฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมปอง มุทิโต. (2558). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. อุดรธานี: ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานวิหารธรรม.

มติชนออนไลน์ (Matichon online). (2561). โรงฆ่าสัตว์ กทม. พลิกโฉมวงการเนื้อไทย. (ออนไลน์)-วันที่ 23 สิงหาคม 2561-เวลา 12:35 น. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.matichon.co.th/ local/quality-life/news_1098351.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหากุฏราชวิทยาลัย 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2550). วินัยวินิจฉัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2551). อุปกรณ์วินัยมุขเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วรรณสิทธิ ไวทยเสวี. (2548). คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค. พิมพ์ครั้งที่ 6. นครปฐม: มูลนิธิแนบมหาธีรานนท์.

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2542). หลักพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาญจนบุรี : สหายพัฒนาการพิมพ์.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2452). วินัยมุขเล่ม 1 หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี. พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). เบญจศีลและเบญจธรรม: หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2552). วินัยมุขเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

เผยแพร่แล้ว

06/21/2022

How to Cite

ยอดทอง อ. (2022). ปาณาติบาตในเบญจศีล: วิเคราะห์การใช้เครื่องจักรและโปรแกรมฆ่าสัตว์. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 126–140. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/1352