วิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย

ผู้แต่ง

  • จุตพล กิจทวี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

วิถีคหกรรมศาสตร์, อัตลักษณ์, คุณค่า, อาหารไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการอธิบายถึงวิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย ซึ่งประกอบด้วย รสชาติ ราคา คุณค่าต่อสุขภาพ (Health foods) อีกทั้งจะต้องมีความสะดวกในการบริโภค เป็นอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และปรุงสด รสชาติให้ถูกรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มุ่งเจาะตลาดเฉพาะ และการสร้างตราสินค้า การใช้บรรจุภัณฑ์ ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจและสอดคล้องกับความนิยมของผู้บริโภค เน้นจุดขายที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะวัฒนธรรมไทยด้านคุณภาพของอาหารไทย ในเรื่องอาหารไทยมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก ที่มีผลต่อการบริโภคอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้น ประกอบด้วยรสชาติเข้มข้น มีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัว ดังนั้น การทำ อาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญ และประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทย ผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต เพื่อให้อาหารน่ารับประทาน ทำให้นึกถึงเรื่องอาหารไทยเป็น มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์คุณค่าของอาหารไทยนอกจากรสชาติอาหารอร่อย ที่มาพร้อมความสมบูรณ์แบบในการจัดเสิร์ฟแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การตกแต่งอาหารให้ออกมาดูดี น่ารับประทาน ซึ่งการจัดจานถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกได้ดีอีกด้วย บ่งบอกถึงความสวยงาม ความน่ารับประทาน ความน่าสนใจของรูปแบบการจัดอาหาร เป็นการสร้างมูลค่าให้กับอาหารอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าการส่งออกทางวัฒนธรรมได้อีกทางหนึ่ง

References

ณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล และคณะ. (2560). ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากการรับรู้ค่าและความคุ้นเคยที่ส่งผ่านความเชื่อมั่นและยึดติดกับผลิตภัณฑ์เดิม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(26): 70-80.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2545). วิถีคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย: บทสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์จากปัจจุบันสู่อนาคต. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปณิดาภา สวนแก้ว. (2557). ความสำเร็จของนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(1): 47-58.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). จาก http://www.environnet.in.th/ archives/1742.

ศรุตา นิติวรการ. (2557). อาหารไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 5(1): 171-179.

Brown, M. and B. Paolucci. (1978). Home Economics: A Definition. University of Minnesota and Michigan State University. (Mimeographed).

Sutton-Smith, Brian. (1988). In Search of the Imagination. In K. Egan and D. Nadaner (Eds.), Imagination and Education. New York, Teachers College Press.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

เผยแพร่แล้ว

06/21/2022

How to Cite

กิจทวี จ. (2022). วิถีคหกรรมศาสตร์ : บริบทอัตลักษณ์ของคุณค่าอาหาไทย. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 10–16. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/1353