คุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, บุคลากร, ศาลจังหวัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มาติดต่อราชการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภูในระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 2 กันยายน ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.04) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ (μ= 4.32) รองลงมา คือ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ (μ= 4.12) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการตอบสนองต่อผู้มารับบริการ (μ= 3.90) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอาชีพ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนวทางการให้บริการของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ศาลจังหวัดหนองบัวลำภูควรปรับภูมิทัศน์ จัดหาโต๊ะเก้าอี้ จัดมุมที่นั่งรอให้มีความสะดวกสบาย จัดหาหนังสือพิมพ์วารสารไว้ให้ผู้รับบริการได้อ่านระหว่างนั่งรอ
References
กฤตยา อาชวนิจกุจ. (2551). คำถามและข้อท้าทายต่อนโยบายรัฐไทยในการจัดการปัญหามิติสุขภาวะและสิทธิของแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรรณิการ์ นามไพร (2556). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
กาญจนา รวดเร็ว. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คัมภีรพันธุ์ ขาภิบาล. (2544). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครต่อกลุ่มคุณภาพการให้บริการของสถานีบริการน้ำมันการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิลเนตร คฤหโกศล. (2559). คุณภาพการให้บริการของพนักงานต้อนรับประจำศาลจังหวัดนครสวรรค์. รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิรัตน์ ท้วมใจดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีผู้บริโภค: กรณีศึกษาศาลแขวงพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.
อรสิริ บุญเฉลียว. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริการของการประปานครหลวง. การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bloom, B.S. (1968). Mastery learning. UCLA-CSEIP Evaluation Comment. 1 (2) Losangeles. University of California at Los Angeles.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.