รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธปรัชญาว่าด้วยไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัล
คำสำคัญ:
พุทธปรัชญา, ไตรสิกขา, การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์, สังคมดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพหุสารัตถะแนวคิดการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัล 2) ศึกษาพหุสารัตถะหลักพุทธปรัชญาว่าด้วยไตรสิกขา 3) ประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาว่าด้วยไตรสิกขาเพื่อพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัล และ 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการประยุกต์หลักพุทธปรัชญาว่าด้วยไตรสิกขาเพื่อพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการศึกษาเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาว่าด้วยไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัล เป็นรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานด้วยสมรรถนะสำคัญ 3 ประการ คือ 1) นิสัยดี คือ มีพฤติกรรมทางกายวาจาดี ถูกต้องเหมาะสมตามหลักสีลสิกขา กฎและมารยาทในสังคมดิจิทัล 2) จิตใจดี คือ มีขีดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และบริหารจัดการจิตใจในสภาวการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักจิตตสิกขา และ 3) ความรู้ดี คือ มีความรู้ความเข้าใจชีวิตทั้งระดับโลกิยะ คือ การดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับโลกุตระ คือ การพัฒนาชีวิตเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามหลักปัญญาสิกขาผ่านหลักหลักกาลามสูตรและหลักโยนิโสมนสิการ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัลเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ คือ “นิสัยดี จิตใจดี ความรู้ดี” ผลการวิจัยถือเป็นองค์ความใหม่ที่ได้ คือ G-MBK MODEL
References
เกริกเกียรติ์ ศรีเสริมโภค. (2546). การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นาโกต้า.
จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : ทฤษฏีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทศูนย์กฏหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). จะพัฒนาคนกันอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
.(2543). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระใบฎีกาธีรศักดิ์ สุธีโร/น้อยอ่อน. (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท โรงเรียนกระสังพิทยาคม ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). เอกสารการสอนชุดวิชาทักษะชีวิต. หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณภา ลือกิตินันท์. .(2558). การประยุกต์ใช้แนวคิดสมรรถนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์: กรณีศึกษา บริษัทผลิตยางรถยนต์ชั้นนำระดับโลกแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาการจัดการ 2. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558: 19-36. แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 25564.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ออนไลน์). ยุทธศาสตร์ 20 ปี (2561-2580). แหล่งข้อมูล. www.nesdc.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อนุชา ภวายน. (2545). การพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขา: ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: กิตติพงศ์การพิมพ์.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.