ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเสริมสร้างความสุขแท้ตามแนวมนุษยนิยมในสังคมปัจจุบัน
คำสำคัญ:
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การเสริมสร้างความสุขแท้, มนุษยนิยม, สังคมปัจจุบันบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับการเสริมสร้างความสุขแท้ตามแนว มนุษยนิยมในสังคมปัจจุบัน 2) ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะมรรคของการเสริมสร้างความสุขแท้ 3) บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเสริมสร้างความสุขแท้ตามแนวมนุษยนิยมในสังคมปัจจุบัน 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการเสริมสร้างความสุขแท้ในสังคมปัจจุบันด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวมนุษยนิยม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า มนุษยนิยมมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีปัญญาในการคิดค้นหาเหตุผลและสามารถเข้าถึงความจริงซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความสุขแท้ตามสัญชาตญาณปัญญา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางของการปฏิบัติการพัฒนาบนพื้นฐานทางสายกลาง และการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นหลักการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองด้วยการรู้จักความพอดี พอกินและพอใจ การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเสริมสร้างความสุขแท้ตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคด้วยการสร้างความสุขบนความสุขของผู้อื่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ ความมีเมตตา มีวัฒนธรรมของการผลิต มีวิจารณญาณในการบริโภคในสิ่งที่เป็นคุณค่าแท้ การพึ่งพาตนเอง หลักการสอนให้ตระหนักรู้ในศักยภาพตน เข้าใจตน เข้าถึงตน และพัฒนาตน ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และนี่คือแนวทางของสัมมาทิฏฐิ สัมมาปฏิบัติ และสัมมาพัฒนาของการเสริมสร้างความสุขแท้ องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้คือ AHAR = WMVW LQD
References
กีรติ บุญเจือ. (2546). เริ่มรู้จักปรัชญา เล่ม 1 ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพ
มหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
__________. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริม
และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.
พาทิศ จงหมายกลาง ธีรัตม์ แสงแก้ว และธเนศ ปานหัวไผ. (2562). แนวคิดมนุษยนิยมใน
วรรณกรรมของแดนอรัญ แสงทอง.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2
(กรกฎาคม-ธันวาคม) : 67-79.
พระทองคำ สิงห์ทอง. (2557). การพัฒนาสังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอัน
เนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟื้น ดอกบัว. (2557). การวิเคราะห์พุทธปรัชญาว่าด้วยศาสตร์แห่งความสุข. ใน การประชุม
วิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2557 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2560). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
สิริกร อมฤตวาริน. (2558). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง:
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 จังหวัดลพบุรี (สสว.8). (2560). รายงานโครงการวิจัย
เรื่อง การเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็งตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. ลพบุรี: วี.เอส.
ยูซท์ ก๊อปปี้ แอนด์ ซัพพลาย.
เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ปรัชญาจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุนทรฟิล์ม จำกัด.
Bauman, Zigmunt, Postmodern Ethics. Oxford: Blackwell, 1996.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยธรรมศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.