การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ชัยรัตน์ ตั๋นสกุล หลักสูตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วีระ วงศ์สรรค์ หลักสูตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • รสรินทร์ อรอมรรัตน์ หลักสูตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT)  กับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทราวาส(ศุขประสารราษฎร์)จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 30 คน ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 จำนวน 30 คนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่(1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) (2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ(3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) สูงกว่านักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กันติกาน สืบกินร. (2551). การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ: สอนประวัติศาสตร์ให้เด็กมีความสุข. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ธัญญาพร ก่องขันธ์. (2554). ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกม่วง (ดำประชาอุทิศ) อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญมา หลายพัฒน์. (2550). วิธีการสอนแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเพศศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2558). 4 MAT: ลีลาการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน. Thailand Education. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาก้องนภา สิงห์ศร.(2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2539). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพชรรัตน์ คำสมจิตร. (2557). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม โดยใช้รูปแบบการสอน 4 MAT รายวิชา ส23101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลีลาวดี วัชโรบล. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลโดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และทฤษฎีปลูกฝังนิสัยเพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

สิริวรรณ ตะรุสานนท์. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT กับการจัดกิจกรรมการสอนแบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อริศรา ภูคากอง (2553). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Appell, Cladla Jane. (1991). The Effect of the 4 MAT System of instruction on Academic Achievement and Attitude in the Elementary Music Classroom (Four Mat).

Dissertation Abstracts international. 52(11): 3851?A.

Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning. NewYork: Kingsport Press.

Bowers, Patricia Shane. (1987). The Effect of the 4 MAT System on Achievement and Attitudes in Science. Dissertation Abstracts International. 49(90): 2605-A.

Good, Carter V. (1959). Dictionary of Education. New York: Mc Graw?Hill.

Bowers, Patricia Shane. (1973). Dictionary of Education. 3rd Ed. New York: McGraw ? Hill Book Inc.

McCarthy, Mice. (1990). Using the 4 MAT System to Bring Learning Styles to Schools. Eric Accession: NISC Discover Report.

Powell, Marvin. (1963). The Psychology of Adolescence. New York: The BoblessMerrill.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/06/2020

How to Cite

ตั๋นสกุล ช., วงศ์สรรค์ ว., & อรอมรรัตน์ ร. (2020). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 3(1), 27–35. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/442