จริยธรรมผู้แทนขายมีอิทธิพลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ของลูกค้าเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน
คำสำคัญ:
จริยธรรมผู้แทนขาย, คุณภาพความสัมพันธ์, โรงพยาบาลเอกชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาจริยธรรมผู้แทนขายที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพความสัมพันธ์กับลูกค้าเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมผู้แทนขายกับคุณภาพความสัมพันธ์กับลูกค้าเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน และ (3) เพื่อวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนของจริยธรรมผู้แทนขายที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพความสัมพันธ์กับลูกค้าเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานประจำห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี Stepwise
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติงานทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วงอายุ 31 –35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001–30,000 บาท และมีประสบการณ์การทำงาน 4-6 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จริยธรรมผู้แทนขายที่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพความสัมพันธ์ของลูกค้าเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน มากที่สุด คือ ด้านความซื่อสัตย์ รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม และด้านความยุติธรรม และสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ได้ดังนี้
คุณภาพความสัมพันธ์ของลูกค้าเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน = 1.415 + 0.225 ด้านความซื่อสัตย์ + 0.162 ด้านคุณธรรม + 0.225 ด้านความยุติธรรม
References
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). ภาพรวมธุรกิจ Healthcare ในประเทศไทย และแนวทางการปรับโครงสร้างธุรกิจบริการสุขภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน. เข้าถึงได้จาก http://www.thaivi.org/ธุรกิจ-healthcare
Adnan, A., Saher, N., Naureen, H., Qureshi, S., & Khan, N. Y. (2013). What shapes ethical behavior of sales team? A case study of banking sector of Pakistan. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 5(1), 424-442.
Athanasopoulou, P. (2009). Relationship quality: A Critical literature review and research agenda. European Journal of Marketing, 43(5/6), 583-610.
Bansal, H. S., Taylor, S. F., & James, Y. S. (2005). Migrating to new service providers: Toward a unifying framework of consumers' switching behaviors. Journal of the Academy of Marketing Science, 33(1), 96-115.
Chen, M. F., & Mau, L. H. (2009). The impacts of ethical sales behaviour on customer loyalty in the life insurance industry. The Service Industries Journal, 29(1), 59–74.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Elango, B., Paul, K., Kundu, S.K. and Paudel, S.K. (2010). Organizational ethics, individual ethics, and ethical intentions in international decision-making. Journal of Business Ethics, 97(4), 543-561.
Evans, K. R., McFarland, R. G., Dietz, B., &, Jaramillo, F. (2012). Advancing sales performance research: A focus on five under researched topic areas. Journal of Personal Selling and Sales Management, 32(1), 89-106.
Hansen, J. D., & Riggle, R. J. (2009). Ethical salesperson behaviour in sales relationships. Journal of Personal Selling & Sales Management, 29(2), pp. 151–166.
Hazrati, S. S., Zohdi, M., Zohdi, M. H., Seyedi, S. M., & Dalvand, M. R. (2012). Examining impacts of the salesperson’s ethical behavior on the customer’s satisfaction, trust and commitment. African Journal of Business Management, 6(14), 5026-5033.
Jones, D. L. (2000). A determination of interpersonal interaction expectations in international buyer-seller relationships (Unpublished doctoral dissertation). Virginia Polytechnic Institute and State University.
Román, S., & Munuera, J. L. (2005). Determinants and consequences of ethical behavior: An empirical study of salespeople. European Journal of Marketing, 39(5-6), 473–495.
Singh, R. (2008). Relational embeddedness, tertius iungens orientation and relationship quality in emerging markets. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 20(4), 479-492.
Veloutsou, C., Saren, M., & Tzokas, N. (2002). Relationship marketing, what if. European Journal of Marketing, 36(4), 433-449.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยสยาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้เขียนบทความ และผู้นำส่งบทความ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของบทความ สิทธิ์แห่งการได้มาซึ่งบทความ สิทธิ์ของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบทความ สิทธิ์ของการใช้เครื่องมือเพื่อการประมวลผล หรือสิทธิ์อื่นใดอันเกี่ยวข้องกับบทความ วารสาร “วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้นำบทความออกเผยแพร่โดยสุจริตเท่านั้น สิทธิ์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับบทความยังเป็นของเจ้าของสิทธิ์อยู่ สิทธิ์นั้นไม่ได้ถูกถ่ายโอนมาเป็นของวารสารฯ แต่อย่างใด
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในบทความนั้น ถือเป็นทัศนะอิสระของผู้เขียน โดยผู้เขียนแต่ละท่านให้การรับรองว่าบทความของตนมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นของผู้อื่น วารสารฯ และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ เป็นแต่เพียงผู้ให้ความเห็นเรื่องคุณภาพของเนื้อหา และความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอเท่านั้น วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อข้อความใดๆ อันเกิดจากทัศนะ และสิทธิ์ในการตีพิมพ์และเผยแพร่ของผู้เขียน