ภาพลักษณ์อาหารท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการ กลับมาท่องเที่ยวเชิงอาหารซํ้าในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุธีรา สิทธิกุล -

คำสำคัญ:

การรับรู้, ภาพลักษณ์อาหารท้องถิ่น, การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, แนวโน้มการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์อาหารท้องถิ่นที่มีต่อแนวโน้มพฤติกรรมการกลับมาท่องเที่ยวเชิงอาหารซ้ำในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทำการเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวไทยซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจรับประทานอาหารท้องถิ่น (อาหารพื้นเมือง) ในจังหวัดเชียงใหม่และไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือและไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์อาหารท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการกลับมาท่องเที่ยวเชิงอาหารซ้ำในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ตัวแปรต้นสามารถพยากรณ์แนวโน้มพฤติกรรมการกลับมาท่องเที่ยวเชิงอาหารซ้ำในจังหวัดเชียงใหม่ได้ โดยตัวแปรต้นที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านคุณภาพของอาหารท้องถิ่น ด้านความคุ้มค่าของราคาของอาหารท้องถิ่น

References

เกศศิณี ตระกูลทิวากร. (2557). การส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือโดยใช้ภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพฯ.

เณรัญชรา กิจวิกรานต์. (2557). ภาพลักษณ์อาหารไทย การรับรู้คุณภาพอาหารไทยและแนวโน้ม พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 10(1), 12-28.

ศลิษา ธีรานนท์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2559). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมา ท่องเที่ยวซ้ำในกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ: กรณีศึกษาภายหลังการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2556-2557. วารสารเศรษฐศาตร์และนโยบายสาธารณะ

(13): 38-55. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นรพล เกตุทัต. (2557). แรงจูงใจการท่องเที่ยวและการแบ่งกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิชัย นิรมานสกุล. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมจากต่างประเทศ. หนังสือวิทยานิพนธ์ ค.ม. (การประชาสัมพันธ์). กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มิชลิน ไกด์ ไทยแลนด์. (2564). ร้านอาหารเหนือ. สืบค้นเมื่อ 24 เดือน เมษายน 2564. จาก https://guide.michelin.com/th/th.

วันทนีย์ ศรีนวล และ ศวิน แสงพิกุล. (2017). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 175-194.

ศุภกร ภัทรธนกุล. (2551). ปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ทัศนคติ และความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร อันเป็นผลจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง: กรณีศึกษา พ.ศ. 2549-2551. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 30(115-116),179-201.

สุนี ศักดาเดช. (2549). อาหารท้องถิ่น. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

เสาวภา ศักยพันธ์. (2548). ตำราอาหารท้องถิ่น. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

อนุรักษ์ ทองขาว, สยานนท์ สหุนันต์, พรรณภัทร แซ่โท้ว, ศักดา กาญจนวนาวัลย์, อมราวดี ไชยโย. (2564). การเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 7(2), 98-112.

อังศุมา เที่ยงประเทศ, ไพบูรณ คะเชนทรพรรค์ และสันทัด ทองรินทร์. (2563). ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยในมุมมองของชาวอเมริกัน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 24(3), 81-93.

Boyne, S., Hall, D. & Williams, F. (2003). Policy, support and promotion for food-related Tourism initiatives: A marketing approach to regional development. Journal of Travel and Tourism Marketing 14(3), 131-54.

Cooper, C., & Fletcher, F. (1993). Tourism Principles and Practice. London: Pearson Education.

Echtner, C. M. and Ritchie, J. R. B. (2003). The meaning and measurement of destination image. The Journal of Tourism Studies 14(1) : 37-48.

Guan, J. and Jones, D. L. (2014). The Contribution of Local Cuisine to Destination Attractiveness: An Analysis Involving Chinese Tourists' Heterogeneous Preferences. Asia Pacific Journal of Tourism Research. 20(4), 416-434.

Hall, C.M. (2003). Wine food and tourism marketing: Preface. Journal of Travel and Tourism Marketing 14, xxiii.

Hijalager, A. & Richards, G. (eds.) (2002). Tourism and Gastronomy. London: Routledge.

Kislali, H., Kavaratzis, M., & Saren, M. (2016). Rethinking destination image formation. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 10(1), 70-80.

Lee, C. K., Lee, Y. K., & Lee, B. (2005). Korea's destination image formad by the 2002 world cop. Annals of Tourism Research, 32(4), 839-858.

Lee, S. W., & Xue, K. (2020). A model of destination loyalty: Integrating destination image and sustainable tourism. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 25(4), 393-408.

Long, L. (ed.) (2003). Culinary Tourism: Food, Eating and Otherness. Lexington:University of Kentucky Press.

Prayag, G., & Ryan, C. (2012). Antecedents of tourists’ loyalty to Mauritius: The role and influence of destination image, place attachment, personal involvement, and satisfaction. Journal of travel research, 51(3), 342-356.

Ritchie, J.R.B. & Crouch, G.I. (2003). The competitive destination: a sustainable tourism perspective. Wallingford: CABI.

Selwood, J. (2003). The lure of food: Food as an attraction in destination marketing in Manitoba, Canada.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21