กลยุทธ์การขยายธุรกิจและการเติบโตของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยในยุคความปรกติใหม่ (New Normal)
คำสำคัญ:
อุตสาหกรรมการพิมพ์, วิสาหกิจการพิมพ์, กลยุทธ์การเติบโต, ดิจิทัล ดิสรัปชั่น, ความปรกติใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายรูปแบบการขยายธุรกิจขององค์การผ่านกลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อศึกษาสภาพการแข่งขันและการปรับตัวในระดับองค์การ ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์ในประเทศไทย ภายใต้บริบทของดิจิทัล ดิสรัปชั่น และ ความปรกติใหม่ (New Normal) และ เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การเติบโตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ภายใต้บริบทของนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการทำกลุ่มสนทนา (Focus Group) กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 13 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในวิสาหกิจการพิมพ์ในประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า ในสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่ามกลางบริบทของความปรกติใหม่ และ ผลกระทบจาก ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์มีการปรับใช้กลยุทธ์การเติบโตในรูปแบบต่างๆครอบคลุมทั้ง 1)กลยุทธ์การเติบโตด้วยการเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาด (Intensive Growth Strategy) 2)กลยุทธ์การเติบโตด้วยการขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผ่านการควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ (Integrative Growth Strategy) และ 3)กลยุทธ์การเติบโตที่กระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจอื่นๆ (Diversification Growth Strategy)
ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์หลักๆที่มาจากผลการวิจัยมีดังนี้ 1)การมุ่งประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านเทคโนโลยี และ การมีฐานคติ หรือ โลกทัศน์ (Mindset) ของผู้บริหารและบุคคลากรที่ตอบรับต่อกระแสโลกดิจิทัล และ วิถีชีวิตยุคความปรกติใหม่ 2)การสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการร่วมกัน ในกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและกลุ่มการค้าอื่นๆที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของการผนึกพลังร่วม (Synergy) และ 3)เทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการการพิมพ์จำเป็นต้องนำมาปรับใช้เพื่อความอยู่รอดในอนาคต ควรต้องผ่านการวิเคราะห์แล้วว่าจะสามารถตอบสนองกับกลุ่มลูกค้าและตลาดใหม่ๆในอนาคตได้
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมการพิมพ์, กลยุทธ์การเติบโต, ดิจิทัล ดิสรัปชั่น, ความปรกติใหม่
References
เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ. (2561). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่ Thailand 4.0. วารสารวิชาการ กสทช.
สุชาติ เล็บนาค. (2558). ปริมาณคือพระเจ้า เมื่อมีคนดู-คนอ่าน ก็ขายได้. วารสารราชดำเนิน, 16-19.
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. (2563). กกร. หั่น GDP ปี 64 ลงอีก จาก 0.5-2.0 % เหลือ 0.0-1.5 %
ภายใต้ปัจจัยโควิด-19 และมาตรการเพิ่มเติมจากภาครัฐ ส่งออกขยายตัว 8.0-10.0 % เงินเฟ้อคงที่ 1.0-1.2 %. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, จาก https://fti.or.th/2021/07/07/กกร-หั่น-gdp-ปี-64-ลงอีก-จาก-0-5-2-0-เห/
Agarwal, R., & Thiel, M. (2014). World class sustainable product innovation: a case study. International Journal of Entrepreneurship and Innovation Management, 18(5-6), 397-408.
Ahmed, S., & Ashfaq, A. (2013). Impact of Advertising on Consumers’ buying behavior through Persuasiveness, Brand Image, and Celebrity endorsement. Global media journal, 6(2), 149.
Asonye, C. (2020). There’s Nothing New about the “New Normal”. Retrieved August 19, 2020, from https://www.weforum.org/agenda/2020/06/theres-nothing-new-about-this-new-normal-heres-why/
Christensen, Clayton M. (2013). The innovator's dilemma: when new technologies cause great firms to fail. Harvard Business Review Press.
Oxford Learner’s Dictionaries. (2021). Disruption. Retrieved January 2022, from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/disruption?q=Disruption
Robbins, S. P., Coulter, M., & Vohra, N. (2009). Introduction to Management and Organizations. Management 10th Edition. Pearson Education: Publishing Prentice Hall Publications, 2-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยสยาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้เขียนบทความ และผู้นำส่งบทความ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของบทความ สิทธิ์แห่งการได้มาซึ่งบทความ สิทธิ์ของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบทความ สิทธิ์ของการใช้เครื่องมือเพื่อการประมวลผล หรือสิทธิ์อื่นใดอันเกี่ยวข้องกับบทความ วารสาร “วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้นำบทความออกเผยแพร่โดยสุจริตเท่านั้น สิทธิ์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับบทความยังเป็นของเจ้าของสิทธิ์อยู่ สิทธิ์นั้นไม่ได้ถูกถ่ายโอนมาเป็นของวารสารฯ แต่อย่างใด
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในบทความนั้น ถือเป็นทัศนะอิสระของผู้เขียน โดยผู้เขียนแต่ละท่านให้การรับรองว่าบทความของตนมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นของผู้อื่น วารสารฯ และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ เป็นแต่เพียงผู้ให้ความเห็นเรื่องคุณภาพของเนื้อหา และความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอเท่านั้น วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อข้อความใดๆ อันเกิดจากทัศนะ และสิทธิ์ในการตีพิมพ์และเผยแพร่ของผู้เขียน