การสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อบรรยากาศองค์กรและความพึงพอใจในการทำงาน ของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ธีรไกรศร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กฤช จรินโท วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การสื่อสารภายในองค์กร, บรรยากาศภายในองค์กร, ความพึงพอใจในการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรส่งผลต่อบรรยากาศ องค์กร ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน ปัจจัยบรรยากาศองค์กร ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน ปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อบรรยากาศองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ และปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อ ความพึงพอใจในการทำงานของครูโรงเรียน เอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง ครูที่สอนในโรงเรียนเอกชน เขต 1 จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 350 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กรอก แบบสอบถาม ข้อมูลการสื่อสารภายในองค์กร ข้อมูลบรรยากาศองค์กร ข้อมูลความพึงพอใจในงาน โดย มีสถิติที่เลือกใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย Independent Sample t-test, One-way Analysis of Variance,และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง อายุ 31 - 40 ปี มีการศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาการทำงานในหน่วยงาน มากกว่า 3 ปี มีรายได้ต่อเดือน 10,000-15,000 บาท ทำการสอนในระดับประถมศึกษา

 การวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า การสื่อสารภายในองค์กรส่งผลต่อบรรยากาศ องค์กรของครูโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ค่า t-value เท่ากับ 13.64 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 การสื่อสารภายในองค์กรส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครูของครูโรงเรียนเอกชน ใน จังหวัดสมุทรปราการ ที่ค่า t-value เท่ากับ 3.75 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 บรรยากาศองค์กรส่งผลต่อ ความพึงพอใจในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ค่า t-value เท่ากับ 3.54 ที่ ระดับ นัยสำคัญ 0.01 (** P-values < 0.01 หมายถึง T-Value < -2.58 และ T-Value > 2.58 ) (Diamantopoulos & Siguaw, 2000)

References

ขุนทอง จริตพันธ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์กรของ วิทยาลัยการอาชีพและวิทยาลัยสารพัดช่างในกลุ่มภาคกลางสังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

จุฬารัตน์ เสกนำโชค. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรและความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของพนักงานในสายงานบัญชี บริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์.

ณัชชา พัฒนะนุกิจ. (2545). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณี ศึกษานิตยสารดิฉัน. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหาร สื่อสารมวลชน. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์ส าหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร ปวงสุข. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัยโรงเรียนเอกชน จังหวัด สมุทรปราการ. ภาคนิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณทิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

มานิดา คำจีน. (2547). การสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน รายเดือน กรณีศึกษา บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน). รายงานโครงการเฉพาะ บุคคล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรียาพร วงศ์อนุโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พิบูล ทีปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่. กรุงเทพฯ:อมรการพิมพ์.

รสสุคนธ์ รุดชาด. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจของครูในโรงเรียน ที่จัดการเรียนการสอน ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ลดาวัลย์ วัฒนสานติ์. (2540). ศึกษาความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสารภายในองค์กร ศึกษา กรณีเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ณ ที่ทำการ อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรธุรกิจมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรรณทนีย์ สุขวิบูลย์. (2548). บรรยากาศองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับพึงพอใจและพฤติกรรมการทำงาน ของพนักงานธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมยศ นาวีการ. (2547). ทฤษฏีองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.

อัญญา ศรีสมพร. (ม.ป.ป.). บทความการศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2553, จาก http://elearning.spu.ac.th/allcontent/hrm483/text/03.htm

Bartz, A. E. (1999). Basic Statistical Concept. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Daneil, K. and Robert, L. K. (1966). The Social Psychology of Organizations. New York: Wiley.

Diamantopoulos, A. and Siguaw, J. A. (2000). Introducing Lisrel: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications. ฃLitwin, G. H. and Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organizational Climate. Boston: Harvard University.

Muchinsky, P. M. (1977). Organizational Communication: Relationship to Organizational Climate and Job Satisfaction. Academy of Management Journal, 20(4),592-607.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Piscopo, B. (1994). Organizational climate, communication, and role strain in clinical nursing faculty. Journal of Professional Nursing, 10(2), 113-119.

Robbins, S. P. and Judge, T. A. (2008). Essentials of organizational behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Smith, P. C., Kendal, L. M., and Hulin, C. L. (1969). The Measurement of Satisfaction in work and Retirement. Chicago: Rand McNally.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17