ทางออกของธุรกิจโรงแรมกับแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • นันทวัฒน์ พรเลิศกชกร สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม
  • กานต์จิรา ลิมศิริธง สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม
  • บุรินทร์ สันติสาส์น สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ธนภูมิ ลิมศิริธง Media and Governance, Keio University

คำสำคัญ:

องค์การแห่งการเรียนรู ้, แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบในการดําเนินธุรกิจเป็นอย่างมากทั้งปัญหา และอุปสรรคจาก ปัจจัยภายในเช่น การหมุนเวียนของเงินทุน ทักษะความสามารถของพนักงานที่ต้องพัฒนา และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์การ รวมถึงปัจจัยภายนอกองค์การ เช่น ภัยพิบัติจากภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์ เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้บริโภค เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สภาวการณ์แข่งขันในอุตสาหกรรม และโรคระบาด อย่างเช่นสถานการณ์ COVID-19ซึ่งเป็ นปัญหาใหญ่ และส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมเป็นอย่าง มากนับตั้งแต่ มกราคม 2563จนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัญหา COVID-19 ทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนการดําเนินการในรูปแบบใหม่หรือที่เรียกว่า New Normal ธุรกิจโรงแรมจึงต้องทําการปรับเปลี่ยนวิธีการดําเนินธุรกิจให้สอดคล่องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยกําหนดมาตรการ แนวทาง และนโยบายต่างๆ ดังนั้นแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ จึงเป็นหนึ่งแนวคิดที่ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวได้เท่าทันต่อสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยในบทความนี้ได้นําเสนอถึงแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และนําเสนอ แนวทางในการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมในภาพรวมซึ่งนโยบาย มาตรการต่างๆ ที่ทางโรงแรมควรต้องทํานั้น เป็นแนวทางที่ใช้กระบวนการแห่งการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ แทบทั้งสิ้น เพื่อที่จะเรียนรู้ พัฒนานําความรู้ เผยแพร่ทั่วองค์การ ร่วมมือร่วมใจกันทั้งองค์การในการพัฒนาอย่างเต็มใจเพื่อช่วยกันให้องค์การ สามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). จํานวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติรายเดือนปี 2559- 2564P. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.

เฉลิมพร ลิ้มศิริวัฒน์. (2557). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม ขนาดกลางและย่อมในอําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันทวัฒน์ พรเลิศกชกร กานต์จิรา ลิมศิริธง และบุรินทร์ สันติสาส์น. (2563). องค์ประกอบของการบริหาร จัดการองค์การที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. ผลงานวิจัย นําเสนอในการประชุมวิชาการ National and International Academic Conference on Innovation and Management for Sustainability จัดโดย มหาวิทยาลัยสยาม เมื่อวันที่ 9-10 กรฎาคม 2563.

วุฒิ วัชโรดมประเสริฐ. (2557). ปัจจัยทางการแข่งขันกับสภาวการณ์ปัจจุบัน. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(17), 127-134.

สกล บุญสิน. (2555). การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจการให้บริการ กรณีศึกษา บริษัท การบิน ไทย จํากัด (มหาชน). วารสารบริหารธุรกิจ, 35(133), 41-66.

สยามรัฐ. (2563, 23 กันยายน). “อโกด้าเผย 10อันดับเมืองฮิตที่คนอยากไปเที่ยวมากที่สุด ในช่วงครึ่งหลัง ของปี 2020". สยามรัฐ.

สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ค่าใช้จ่ายโดย เฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย จําแนกตามรายการค่าใช้จ่าย พ.ศ. 2553- 2562. กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

________ . (2563). จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย จําแนกตามที่พักแรม พ.ศ. 2553-2562. กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

________ . (2563). รายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย จําแนกตาม ประเทศถิ่นที่อยู่พ.ศ. 2553-2562. กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

อัครพงศ อั้นทอง และ มิ่งสรรพ ขาวสะอาด. (2559). ภาพลักษณ์ และประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว ต่างชาติใน ตลาดที่สําคัญของประเทศไทย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 9(1),25-41.

Brazdauskas, M.and Gaigalaite, L. (2015). Sustainable Hotels as Learning Organizations: Innovative Approaches Towards Employee Training. Innovation, 1, 99-106.

Folinas, S., Duquenne, M.N., and Metaxas, T. (2020). Opportunities in the Hospitality Industry in A Masked and Rubber-Gloved World. Virtual Economics, 3(3), 7-24.

Garvin, D. (1993). Building A Learning Organization. Harvard Business Review, 71(4), 78-91.

Garvin, D.A., Edmondson, A.C., and Gino, F. (2008). Is Yours A Learning Organization? Harvard Business Review, 86(3),109-116.

Hao, F., Xiao, Q., and Chon, K. (2020). COVID-19 and China’s Hotel Industry: Impacts, A Disaster Management Framework, and Post-pandemic Agenda. International Journal of Hospitality Management, 90, Article Number 102636.

Hernandez, J. and Plummer, T. (2020). The Best Countries in the World: 2020 Readers' Choice Awards. New York: Condé Nast.

Kanten, P., Kanten, S., and Gurlek, M. (2015). The Effects of Organizational Structures and Learning Organization on Job Embeddedness and Individual Adaptive Performance. Procedia Economics and Finance, 23, 1358-1366.

Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

McKercher, B. (2020). A Tourism Crisis Recovery Checklist. Hong Kong: The Hong Kong Polytechnic University.

Pimapunsri, P. (2008). Factors Affecting Learning Organization Culture and Hotel Managers' Leadership Styles in Thailand. Education Journal of Thailand, 2(1),34-43.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. New York: Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17