ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูริธรรชพ์ หอมอุดมทรัพย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ภูริธรรชพ์ หอมอุดมทรัพย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัชชา กริ่มใจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ธุรกิจโฮมสเตย์, ปัจจัยความสําเร็จ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เลือกพักโฮมสเตย์ในประเทศ ไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโฮมสเตย์ในประเทศไทย 3) เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตชาวชุมชนโฮมสเตย์ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการ ท่องเที่ยวโฮมสเตย์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทําให้การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืน เพื่อ เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ในการทําวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดย กลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวและชาวชุมชนในหมู่บ้านบ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา แม่กําปอง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านนํ้าเชี่ยว จังหวัดตราด บ้านบางนํ้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ และ เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา แบบสอบถามของนักท่องเที่ยวทั้ง 5 สถานที่รวมทั้งสิ้นจํานวน 417ชุด และ แบบสอบถาม ชาวชุมชนทั้ง 5 สถานที่ รวมทั้งสิ้นจํานวน 415 ชุด การวิจัยนี้จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตาม ลักษณะข้อมูล โดยการวิเคราะห์ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ สถิติ ที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) การวิเคราะห์เพื่อทดสอบหาค่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ของตัวแปรอิสระ และตัวแปรส่งผ่าน โดยใช้สถิติหาสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการศึกษาพบว่า

  1. การมาเที่ยวส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวมากับกลุ่มเพื่อนซึ่งเกินร้อยละ 50 โดยมาเป็ นกลุ่มรถบัส หรือมาเป็นคณะ วัตถุประสงค์การมาโฮมสเตย์ส่วนใหญ่มาเพื่อหาข้อมูลทําวิจัยและเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็ นผู้หญิง อายุอยู่ระหว่าง 21-50 ปี เฉลี่ยร้อยละ 60 และมีสถานภาพโสด อาชีพหลากหลาย โดยส่วนใหญ่ทํางานเป็ นพนักงานบริษัท สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และรายได้ อยู่ระหว่าง 10,000-50,000 บาท
  2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว มี 9 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านเจ้าของบ้าน คือ ด้าน ความมีอัธยาศัยไมตรี สามารถสื่อสารพื้นฐานภาษาอังกฤษได้ และผ่านการอบรมการท่องเที่ยวท้องถิ่น 2) ปัจจัยด้านที่พัก คือ การที่มีที่นอนฟูก หมอน ผ้าห่มที่สะอาด 3) ปัจจัยด้านสุขอนามัยและอาหาร คือ การมี อาหารและนํ้าดื่มสะอาด 4) ปัจจัยด้านทําเลที่ตั้ง คือ การเข้าถึงชุมชนโฮมสเตย์ได้ด้วยพาหนะอย่างใด อย่างหนึ่ง 5) ปัจจัยด้านกิจกรรม คือ การมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เข้าใจเรียนรู้วิถีชุมชน 6) ปัจจัยด้านการจัดการ คือ การจัดการให้มีระบบ และรูปแบบการจัดการฐานข้อมูลของสมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์ และการเข้า พักเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทราบข้อมูลเจ้าของบ้าน 7) ปัจจัยด้านความปลอดภัย คือ มีป้ายสัญลักษณ์ ป้องกันอันตรายและมีอุปกรณ์ป้ องกัน อันตราย 8) ปัจจัยด้านการตลาด คือ มีการคิดราคาเป็ นที่ยอมรับ ของกลุ่ม หรือการคิดราคาที่เป็ นธรรม สมเหตุสมผลนั่นเอง และ 9) ปัจจัยด้านความยั่งยืน คือ สินค้าที่นํามาขายให้แก่กลุ่มนักท่องเที่ยวมาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น และมีกฎเกณฑ์การใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ และความยั่งยืน

  3. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนโฮมสเตย์ มี 4 ปัจจัย คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ คือ การที่ ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยวโฮมสเตย์
    เศรษฐกิจของชุมชนพัฒนาดีขึ้น และชาวชุมชนมีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2) ด้านสังคม คือ การที่การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งใน ครอบครัว ในชุมชน และมีการร่วมมือแก้ไขปัญหาในชุมชน 3) ด้านสิ่งแวดล้อม คือ การที่มีการปรับภูมิทัศน์ ทัศนียภาพของชุมชนให้สวยงามขึ้นและไม่เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว 4) ด้านสุขภาพ คือ การที่การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ไม่ส่งผลต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสุขภาพของชาวชุมชนไม่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวโฮมสเตย์

  4. ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ พบว่า ยังไม่ได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐเท่าที่ควร ชาวบ้านต้องรวมกลุ่มและต้องมีผู้นําที่เข้มแข็งและเสียสละในการบริหารจัดการ สื่อ ออนไลน์นับว่ามีบทบาทอย่างมากในการค้นหาข้อมูล บางชุมชนต้องการทําเว็บไซต์แต่ขาดทุนทรัพย์ ส่วน ผู้ประกอบการที่มีทุนทรัพย์ก็สามารถทําเว็บไซต์เองได้บุคคลที่ต้องการเข้าพักโฮมสเตย์ของชุมชนจึงไม่ สามารถเข้าถึงชุมชนโฮมสเตย์ดังกล่าวได้ นอกจากนั้น ยังขาดการสนับสนุนการจัดอบรมการพัฒนาการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ของการท่องเที่ยวในท้องถิ่น และการอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยว

  5. ปัจจัยที่ทําให้การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืน การที่จะทําให้การท่องเที่ยว โฮมสเตย์เกิดความยั่งยืนนั้น จําเป็ นต้องตระหนักถึงหลายภาคส่วน ทั้งการที่ภาครัฐมีนโยบายเพื่อสนับสนุน กระตุ้นให้เกิดความต้องการในการท่องเที่ยว เช่น ในปี 2560 รัฐบาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ สไตล์ลึกซึ้ง จึงนับเป็ นโอกาสอันดีสําหรับการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ แต่โอกาสก็มาพร้อมกับวิกฤตเช่นกันหาก ขาดการควบคุมดูแลที่ดี

References

กรวรรณ สังขกร. (2552). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์

เวิร์ค. เกิดศิริ เจริญวิศาล. (2558). รูปแบบการบริการต้นแบบของสถานที่จัดงานในสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา: ศูนย์ประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: ภาควิชา บริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุทัศน์ ละงู. (2551). วิถีชีวิตและศักยภาพที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โฮมสเตย์: กรณีศึกษาชุมชน ชาวเลบ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์2ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต2 , มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Amin, A. and Ibrahim, Y. (2016). Sustainable Community Participation in Homestay Program. International Business Management, 10(1), 18-23.

Peters, T.J. and Waterman, R. H. (2004). In Search of Excellence (2nd ed.). London: Profile Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-18