ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยสู่องค์การที่เป็นเลิศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สุทธาพัฒน์ อมรเรืองตระกูล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัชชา กริ่มใจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล, ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, องค์การที่เป็นเลิศ, ธุรกิจนําเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาธุรกิจนําเที่ยวในประเทศไทยสู่องค์การ ที่เป็นเลิศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาธุรกิจนําเที่ยวในประเทศไทยสู่องค์การที่เป็นเลิศใน ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจนําเที่ยวในประเทศไทย จํานวน 390 ราย และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (Structure Equation Model: SEM)

ผลการวิจัยพบว่า หลังจากใช้โปรแกรมสําเร็จรูปตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการ โครงสร้าง ปรากฏว่าดัชนีทุกตัวผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบด้วย P-Value = 0.376 GFI = 0.976 AGFI = 0.963 CFI = 0.998 RMSEA = 0.011และ RMR = 0.021 ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ผลการวิเคราะห์ที่ได้ครั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประประจักษ์ และจากผลการวิเคราะห์เส้นทางพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ องค์การที่เป็ นเลิศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของธุรกิจนําเที่ยวในประเทศ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านภาวะผู้นํา การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ และปัจจัยด้านการบริหารการ เปลี่ยนแปลง โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.550 0.392และ 0.426 ตามลําดับ อย่างมีระดับนัยสําคัญทาง สถิติที่ 0.01 และพบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านความเป็ นผู้ประกอบการของ องค์การ และปัจจัยด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงสามารถร่วมกันอธิบายองค์การที่เป็ นเลิศในยุค เศรษฐกิจดิจิทัลของธุรกิจนําเที่ยวในประเทศได้ร้อยละ 60.4 (R2 = 0.604)

References

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อุดม ทุมโฆสิต. (2554). การจัดการองค์กร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Achua, C.F. and Lussier, R.N. (2010). Effective Leadership. Canada: South-Western.

Ammarinnukhro, W. (2008). Organization Development Concepts. Ramkhamhaeng University Journal, 25(3), 90-105.

Bennis, W.G. (1969). Organization Development: Its Nature, Origins, and Prospects. Boston: Addison-Wesley.

Burke, W.W. and Schmidt, W.H. (1971). Management and Organization Development. Personnel Administration, 34(2),44-56.

Daft, R.L. (1994). Management (3rd ed.). Fort Worth, TX: Dryden.

Gibson, M. et al. (1997). Nursing Care of Children (3rd ed.). New York: Delmar Publishers Inc.

Katz, R.L. (1955). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review, 33(1), 33-42.

Lumpkin, G.T. and Dess, G.G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking It to Performance. Academy of Management Review,21(1),135-172.

Robbins, S.P. (1994). Essentials of Organizational Behavior (4th ed.). Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall.

Robbins, S.P. and Coulter, M. (2008). Management. New Jersey: Prentice Hall.

Schermerhorn, J.R. (2005). Management. New York: John Wiley and Sons.

Yukl, G.A. (2010). Leadership in Organizations (7th ed.). New Jersey: Pearson/Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-18