A Probit Model and Probability of Monetary Policy Decision: Thailand Case
คำสำคัญ:
แบบจำลองโพรบิต, ความน่าจะเป็นในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการสร้างแบบจำลองโพรบิตเพื่อทำการทดสอบว่า ปัจจัยสำคัญใดส่งผลกระทบต่อความน่าจะเป็นในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงิน จากนั้นจึงนำแบบจำลองโพรบิตมาทำนายความน่าจะเป็นในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินภายใต้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่กำหนดมาให้ ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีผลกระทบเชิงลบต่อความน่าจะเป็นในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีขนาดเพิ่มขึ้น ความน่าจะเป็นของการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะมีค่าลดลง ผลการศึกษาที่ได้สอดคล้องกับแนวคิดทางทฤษฎี ทั้งนี้เพราะนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายช่วยเพิ่มรายได้ประชาชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มระดับราคาทั่วไปทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ยิ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีขนาดเพิ่มขึ้น ภาวะเงินเฟ้อก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น เป็นเหตุให้ความน่าจะเป็นในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายลดลง
References
Bank of Thailand. (2021) Monetary Policy Report: March 2021, Bangkok: Bank of Thailand.
Khuamgerd, S, A. Wanaset, and S. Silphipat (2013) “The Impacted of Monetary Policy Transmission on Inflation in Thailand after Implementation of Inflation Targeting Policy” Paper presented in the 3rd STOU Graduate Research Conference, September 3-4, 2013 at Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
MacKinnon, J.G. (1996) “Numerical Distribution Functions for Unit Root and Cointegration Tests” Journal of Applied Econometrics 11(6), 601-618.
Mingmaninakin, W. (2016) Principles of Macroeconomics, Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai).
Moenjak, T. (2014) Central Banking: Theory and Practice in Sustaining Monetary and Financial Stability, Singapore: John Wiley & Sons Singapore.
Noiprom, N. (2018) Economics of Money and Banking, Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).
Noosuwan, C. (2012) “Determinants of Central Bank's Decision on Policy Interest Rate under Inflation Targeting” Thammasat Economic Journal 30(1), 84-127. (in Thai).
Sherdshai, P, A. Wanaset, and S. Sajjanand (2014) “The Relationship between Money Supply, Policy Interest Rate, and Inflation of Thailand” Paper presented in the 4th STOU Graduate Research Conference, November 26-27, 2014 at Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).
Stock, J.H. and M.W. Watson (2007) Introduction to Econometrics, New York: Pearson Education, Inc.
Waiquamdee, A. and J. Mahuttikarn (2006) “Thailand’s Monetary Policy over the Past Decade” Paper presented in 2006 Annual Academic Seminar, December 9-10, 2006, Bank of Thailand. (in Thai).
Wongsawas, S. (2016) “The Effects of Money Supply on Economic Growth of Thailand” Journal of Thonburi University 10(22), 89-98. (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยสยาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้เขียนบทความ และผู้นำส่งบทความ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของบทความ สิทธิ์แห่งการได้มาซึ่งบทความ สิทธิ์ของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบทความ สิทธิ์ของการใช้เครื่องมือเพื่อการประมวลผล หรือสิทธิ์อื่นใดอันเกี่ยวข้องกับบทความ วารสาร “วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้นำบทความออกเผยแพร่โดยสุจริตเท่านั้น สิทธิ์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับบทความยังเป็นของเจ้าของสิทธิ์อยู่ สิทธิ์นั้นไม่ได้ถูกถ่ายโอนมาเป็นของวารสารฯ แต่อย่างใด
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในบทความนั้น ถือเป็นทัศนะอิสระของผู้เขียน โดยผู้เขียนแต่ละท่านให้การรับรองว่าบทความของตนมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นของผู้อื่น วารสารฯ และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ เป็นแต่เพียงผู้ให้ความเห็นเรื่องคุณภาพของเนื้อหา และความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอเท่านั้น วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อข้อความใดๆ อันเกิดจากทัศนะ และสิทธิ์ในการตีพิมพ์และเผยแพร่ของผู้เขียน