กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดส่งออกเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • พธิดา โขงรัมย์ -

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด, การบริหารจัดการการส่งออก, เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้า, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด เปรียบเทียบระดับกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของผู้ส่งออกไทยในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าไปยังกลุ่มอาเซียนและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของผู้ส่งออกไทยในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าไปยังกลุ่มอาเซียนยอดการส่งออกสินค้า ประชากร คือ ผู้แทนกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าหรือโรงงานผลิตเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าตั้งอยู่ในประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมด 2,329 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 342 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวและการวิเคราะห์ไคสแควร์  ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าในกลุ่มประเทศอาเซียนภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบการที่มีขนาดของธุรกิจระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจและรูปแบบการดำเนินธุรกิจแตกต่างกันมีกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมของผู้ส่งออกไทยในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับยอดการส่งออกเฉลี่ย 2 ปีที่ผ่านมาและการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาดเฉลี่ย 2 ปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

References

เครื่องสำอางไทยในตลาดอาเซียน. (2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564. จาก https://www.at-z.co.th/content/15857/เครื่องสำอางไทยในตลาดอาเซียน ตอนที่ 1 : สถานการณ์ตลาดเครื่องสำอางในอาเซียน - At-z.

นุชจารี กล้าหาญ.(2555). กลยุทธ์การตลาดส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

สิริพรรณ พงศ์อธิโมกข์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาดและประสิทธิภาพการส่งออกในธุรกิจผลิตภัณฑ์สปาเพื่อการส่งออก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายชื่อโรงงานที่ได้รัยการรับรอง GMP. ค้นจาก : https://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/Shared%20Documents/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%20GMP%2022%20%E0%B8%A1.%E0%B8%84.61.xls

Grandinetti R. & Mason M.C. (2012). Internationalization modes other than exporting: The missing determinant of export performance. European Business Review, 24(3). 22-25.

Julian, C.C. and Ahmed, Z.U. (2012), "Factors impacting international entrepreneurship in Malaysia", Journal of Small Business and Enterprise Development, Vol. 19 No. 2, pp. 229-245.

Klter and Armstrong, G. (2003). Strategic Marketing for Nonprofit Organization (6th ed.) New Jersey : Person Education International.

Kotler and Armstrong, G. (2001). Marketing An Introduction (5th ed.) New Jersey : Prentice – Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28