ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุชัญญา โคกสีอำนวย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

จริยธรรมในการปฏิบัติงาน, ความผูกพันกับองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ระดับความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานบริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานจำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 กลุ่ม ด้วยสถิติทดสอบความสัมพันธ์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} =4.35) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับจริยธรรมในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือความซื่อสัตย์ สุจริต ( gif.latex?\bar{X} =4.59) และความโปร่งใส (gif.latex?\bar{X} =4.53) อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ มีใจให้บริการ ( gif.latex?\bar{X} =4.49) ความรับผิดชอบ ( gif.latex?\bar{X}=4.29) ความเสียสละ ( gif.latex?\bar{X} =4.20) ความถูกต้อง ( gif.latex?\bar{X} =4.20) และทำงานอย่างสร้างสรรค์( gif.latex?\bar{X} =4.19)2) ระดับความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} =4.03) เมื่อาแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัด ขอนแก่น อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือความพร้อมที่จะทุ่มเททำงานในนามขององค์กร ( gif.latex?\bar{X} =4.19) ความตั้งใจจะคงความเป็นสมาชิกขององค์กร ( gif.latex?\bar{X} =3.99) และความเชื่อมั่นในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร ( gif.latex?\bar{X} =3.90) และ 3) ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.440-0.692 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่า จริยธรรมในการปฏิบัติงาน กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ทางบวก ค่อนข้างสูง (rxy= 0.685) โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่จริยธรรมในการปฏิบัติงานด้าน ทำงานอย่างสร้างสรรค์กับความผูกพันต่อองค์กรด้านความพร้อมที่จะทุ่มเททำงานในนามขององค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy= 0.692) รองลงมา ได้แก่ จริยธรรมในการปฏิบัติงานด้านความ รับผิดชอบ กับความผูกพันต่อองค์กรด้านความพร้อมที่จะทุ่มเททำงานในนามขององค์กร มีความสัมพันธ์ ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy= 0.645) และลำดับที่สาม ได้แก่ จริยธรรมในการปฏิบัติงานด้านความโปร่งใส กับ ความผูกพันต่อองค์กรด้านความพร้อมที่จะทุ่มเททำงานในนามขององค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้าง สูง (rxy= 0.639) และสำหรับคู่ที่มีความสัมพันธ์กันต่ำสุดสามอันดับแรก ได้แก่ จริยธรรมในการปฏิบัติงาน ด้านความเสียสละ กับความผูกพันต่อองค์กรด้านความตั้งใจจะคงความเป็นสมาชิกขององค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกปานกลาง (rxy= 0.440) รองลงมา ได้แก่ จริยธรรมในการปฏิบัติงานด้านความ ถูกต้องกับความผูกพันต่อองค์กรด้านความตั้งใจจะคงความเป็นสมาชิกขององค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวก ปานกลาง (rxy= 0.473) และลำดับที่สาม ได้แก่ จริยธรรมในการปฏิบัติงาน ด้านความเสียสละกับความ ผูกพันต่อองค์กรด้านความเชื่อมั่นในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกปานกลาง (rxy= 0.495)

References

กัลยกร คลังสมบัติ. (2551). จริยธรรมในการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณพศ สิทธิเลิศ. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับ ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

ณัฏฐพร ยี่สุ่น. (2552). จริยธรรมในองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท สยามกลการอะไหล่ จำกัด. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. บุญธรรมกิจปรีดา บริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:จามจุรีโปรดักท์.

ภูมิธรรม ฤกษ์อินทรีย์. (2546). ภาพลักษณ์การให้บริการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมในการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ : เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำราญ บุญคำโชติ. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศา สตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุพัฒน์ ศรีสารคาม. (2554). วฒั นธรรมองค์กรในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อ องค์กร ของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุภาพร พิศาลบุตร. (2549). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.

Chen, G. et al. (2009) . The Motivating Potential of Teams: Test and Extension of Chen and Kanfer’s (2006) Cross-Level Model of Motivation in Teams. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 110 (1), 45-55.

Yamane, T. ( 1973) . Statistics: an Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27