ภาวะผู้นำด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปรากรม วารุณประภา สาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ความมั่นคงของมนุษย์, ภาวะผู้นำ, ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษายุทธศาสตร์ความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและชุมชนของกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของภารกิจด้าน ความมั่นคงของมนุษย์ของกรุงเทพมหานคร และ (4) นำเสนอรูปแบบของภาวะผู้นำด้านการบรรเทาสาธารณภัยในการใช้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนของกรุงเทพมหานคร เพื่อความสำเร็จ ของภารกิจด้านความมั่นคงของมนุษย์ของกรุงเทพมหานครที่เหมาะสมในอนาคต ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัย เชิงผสม (Mixed Methods Research) โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล สำคัญ จำนวน 33 คน ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มราชการ กลุ่มองค์กร อิสระ และกลุ่มนักวิชาการ และดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 325 คน ผลวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำด้านการบรรเทาสาธารณภัยในอดีตมีแนวทางการดำเนินงานแบบตั้งรับ โดยมุ่งเน้น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อคลี่คลายวิกฤติที่เกิดขึ้นจึงมีภาวะผู้นำในรูปแบบของ “ผู้คลี่คลายวิกฤติที่ ขาดความพร้อม” (The Ill-Equipped Crisis Reliever) ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินงานเป็นแบบการสร้าง และเตรียมความพร้อมเพื่อด าเนินภารกิจอย่างเป็นระบบ จึงมีภาวะผู้นำในรูปแบบของ “ผู้ปกปักษ์รักษาชีวิตที่เก่งกาจด้านการจัดการ” (The Well-Managed Life Savior) และผลวิจัยเชิงปริมาณใน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
  2. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนของกรุงเทพมหานคร ควรประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างอนาคตที่เข้มแข็ง ยุทธศาสตร์การปฏิบัติการแบบมืออาชีพ และ ยุทธศาสตร์การจัดการเพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติ และผลวิจัยเชิงปริมาณในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

  3. ความสำเร็จของภารกิจด้านความมั่นคงของมนุษย์ของกรุงเทพมหานครคือ การทำให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาตรฐานขั้นต่ำและด ารงชีวิตต่อไปได้แม้ต้องเผชิญกับภัยพิบัติ และผลวิจัยเชิง ปริมาณในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). เครื่องมือการทำงานวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา คาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. (2552). แผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553-2557. กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานคร.

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2552). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ พ.ศ. 2553 - 2557. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรณเทาสาธารณภัย.

ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พสุ เดชะรินทร์. (2554, 18 ตุลาคม). “ผู้นำในภาวะวิกฤติ”. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. หน้า 10.

สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพนัธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Agranoff, R. and McGuire, M. (1998). Multi Network Management: Collaboration and the Hollow State in Local Economic Policy. Journal of Public Administration Research and Theory, 8(1), 67-91.

Agranoff, R. (2006). Inside Collaborative Network: Ten Lessons for Public Managers. Public Administration Review, 66(Supplement s1), 56-65.

Bass, B.M. and Riggio, R.E. (2006). Transformational Leadership (2nd ed.). New Jersey: Psychology Press.

Blake, R.R. and Mouton, J.S. (1985). The Managerial Grid lll: The Key to Leadership Excellence. Houston: Gulf Publishing.

Campher, H. (2005). Disaster management and planning: an IBLF framework for business response. Retrieved November 6, 2013, from http://commdev.org/userfiles/files/739_file_IBLF_Disaster_Planning.pdf

Cox, D. and Hoover, J. (2006). Leadership When the Heat’s on. New York: McGraw - Hill.

D’ Amour, D. (2005). The Conceptual Basis for Inter Professional Collaboration: Core Concept and Theoretical Framework. Journal of Interprofessional Care, 19(Suppl 1), 116-131.

DuBrin, A. (2001). Leadership Research Finding, Practice, and Skills. Boston: Houghton Mifflin Company.

Finkelstein, S. and Hambrick, D.C. (1996). Strategic Leadership: Top Executives and Their Effects on Organizations. Minneapolis: West Publishing.

Howell, J.M. and Avolio, B.J. (1992). The Ethics Charismatic Leadership : Submission or Liberation?. Academy of Management Executive, 6(2), 43-54.

Kouzes, J.M. and Posner, B.Z. (2002). The Leadership Challenge. San Francisco: Jossey Bass Publishers.

Robbins, S.P. (2003). Essentials of Organizational Behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Starkey, P. (1997). Networking for Development. London: International Forum for Rural Transport and Development.

Yamanae, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27