การพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ อินทน์จันทน์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การจัดทำบริการสาธารณะ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม และ (2) เสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม จำนวน 64 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม สรุปได้ 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน (2) ด้านการจัดทำบริการสาธารณะ (3) ด้านระบบภาษี ท้องถิ่น และ (4) ด้านการขออนุญาต โดยจุดแข็งคือ คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ อบต. ซึ่งทำให้ ผู้รับบริการส่วนใหญ่เกิดความประทับใจในการพูดจา และแนะนำการให้บริการแบบมืออาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการให้ความร่วมมือตามมาในอนาคต และจุดอ่อนคือ ไม่สามารถจัดทำบริการน้ำ ประปาได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจาก อบต. หลายแห่งไม่มีศักยภาพเพียงพอในการดำเนินงานให้ได้มาตรฐานที่กำหนด รวมถึงการให้ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ อบต. ยังไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง และต่อเนื่องนานเพียงพอ สำหรับโอกาสคือ มีหน่วยงานภายนอกที่เป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานร่วมกัน ทั้งในระดับพื้นที่อำเภอ และจังหวัด โดยสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ เครื่องมือ วิชาการ และอื่นๆ เพื่อดำเนินการร่วมกันในพื้นที่ และอุปสรรคคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดการมีส่วนร่วม และขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับ อบต. รวมถึงยังคง ขาดจิตสำนึกที่ดีในการพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็ง ซึ่งมักรอให้ อบต. เป็นผู้ดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว

  2. แนวทางการพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม มีดังนี้ (1) กำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่ เช่น มอบประกาศเกียรติคุณโดยผล คะแนนมาจากชุมชน รวมถึงกำหนดให้การได้รับรางวัลมีผลต่อการพิจารณาเงินเดือนและการเลื่อนตำแหน่ง (2) จ้างเหมาหน่วยงานที่เป็นมืออาชีพมาจัดทำบริการน้าประปา เช่น อบต. ที่มีศักยภาพในด้านนี้ การประปา ส่วนภูมิภาค เพื่อยกระดับมาตรฐานน้ำประปา และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน (3) ประสานงานภาคีเครือข่าย ให้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมของ อบต. และ (4) กำหนดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และการพึ่งพาตนเอง เพื่อช่วยสร้างชุมชนเข้มแข็งในอนาคต

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2556). การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2556, จาก http://www.dla.go.th

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก., หน้า 1-127.

อรทัย ก๊กผล และคณะ. (2549). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสาธารณะที่เชื่อมโยงระหว่างราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัดพระปกเก้า 51. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27