กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อยอดขายของผู้ประกอบการและการจัดการผลิตภัณฑ์ ชุมชน 5 ดาว พื้นที่จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ บวรกุลภา ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด, การจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ ความคิดเห็นต่อกล ยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อยอดขายของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาวพื้นที่จังหวัดนครปฐม และความคิดเห็นต่อการจัดการด้านการผลิต สินค้า บริการ บุคลากร เทคโนโลยีของผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาวพื้นที่จังหวัดนครปฐม ประชากรคือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว มีจำนวน ทั้งหมด 23 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยในช่วง 51 – 60 ปี มีระยะเวลา ดำเนินการ 6 – 10 ปี และส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร

 ความคิดเห็นต่อการจัดการสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว พบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ ตามลำดับ คือ ด้านการผลิตมากที่สุด รองลงมาด้านบุคลากร ด้านสินค้า บริการ มีความคิดเห็นในระดับมาก และด้านเทคโนโลยีในระดับปานกลาง

ด้านความคิดเห็นต่อกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อยอดขายของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาวพื้นที่ จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมแต่ละด้านของส่วนประสมทางการตลาด ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ราคา ช่องทางจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริม การตลาด ตามลำดับ

References

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2556). OTOP ของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดในต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.thaibiz.net/th/business/387/OTOP กรมการพัฒนาชุมชน (2555). โอท็อป 5 ดาว จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.otop5star.com/search-th.php?typ=sa&province=1&prv=73

ชนัญฎา สินชื่น. (2551). ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP): กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ ชุมชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์, คณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ทิวา แก้วเสริม. (2551). ปัญหาและความต้องการการพัฒนาศกัยภาพผูป้ ระกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

บุริม โอทกานนท์ และคณะ. (2556). ไขรหัสโอท็อปเงินล้าน. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/attachments/568_OTOP_PocketBook.pdf

วสันต์ เสือขำ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือก 5 ดาว ในระดับ ภูมิภาค: กรณีศึกษาสินค้า ประเภทอาหารของจงัหวดัเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการอุตสาหการเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. (2554). ปัจจยัความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษา อำเภอสันทราย. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://202.29.13.46/journal/ uploads/article/161/16/4.pdf

สุภาณี อินทน์จันทน์. (2556). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการกลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์. สยามวิชาการ, 14(2), 78-99.

Hashim, M.K. (2000). A Proposed Strategic Framework for SMEs’ Success. Malaysian Management Review, 35(2), 32-43.

Kitchen, P.J.et al. (2004). Will Agencies ever “get” (or understand) IMC? European Journal of Marketing, 38(11/12), 1417-1436.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2001). Principles of Marketing (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Schultz, D.E. (2003, October 27). “Relax Old Marcom Notions, Consider Audiences”. Marketing News. 8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-20