ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขันและกลยุทธ์ทางการตลาดกับผลการดําเนินงาน ของธุรกิจหอพัก ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ มุ่งชู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ธุรกิจหอพัก, ผลการดำเนินงาน, กลยุทธ์การแข่งขัน, กลยุทธ์ทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การแข่งขัน 2) กลยุทธ์ทางการตลาด 3) ผลการดำเนินงาน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขันและกลยุทธ์ทางการตลาดกับผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพัก ในจังหวัดมหาสารคาม สอบถามจากผู้ประกอบการจำนวน 291 คน วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.942 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

  1. กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจหอพักในจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างความแตกต่าง ( gif.latex?\bar{X} = 3.70) ด้านการลดต้นทุน ( gif.latex?\bar{X} = 3.66) ด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว ( gif.latex?\bar{X} = 3.64) และด้านการจำกัดขอบเขต ( gif.latex?\bar{X} = 3.60) ตามลำดับ

  2. กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจหอพักในจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.61) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการส่งเสริมการตลาด ( gif.latex?\bar{X} = 3.74) ด้านผลิตภัณฑ์ ( gif.latex?\bar{X} = 3.60) ด้านราคา ( gif.latex?\bar{X} = 3.58) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ( gif.latex?\bar{X} = 3.53) ตามลำดับ

  3. ผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพักในจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.85) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการภายใน ( gif.latex?\bar{X} = 3.87) ด้านการเงิน ( gif.latex?\bar{X} = 3.86) ด้านลูกค้า ( gif.latex?\bar{X} = 3.84) และด้านเรียนรู้และการพัฒนา ( gif.latex?\bar{X} = 3.82) ตามลำดับ

  4. กลยุทธ์การแข่งขันมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพัก ในจังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง (rxy = 0.404) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  5. กลยุทธ์ทางการตลาดมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพัก ในจังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง (rzy = 0.470) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จินตนา บุณบงการ และคณะ. (2547). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิตินันท์ อิฐรัตน์. (2548). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณัฐพงษ์ นักการีย์. (2554). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อลูกค้าในการเลือกหอพักใน เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพยา กิจวิจารณ์. (2549). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

นิรันดร์ลักษณ์ ขันขวา. (2552). กลยุทธ์การตลาดโดยศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก หอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม กรณีศึกษา: ศูนย์หอพักตักสิลานคร จังหวัด มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พสุ เดชะรินทร์. (2547). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พักตร์ผจง วัฒนาสินธุ์ และพสุ เดชรินทร์. (2545). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ (พิมพ์ครั้ง ที่ 4). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีรฟิล์มและ ไซเท็กซ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

สมยศ นาวีการ. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์(ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สุนทรี อุดชาชน. (2549). ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจหอพักในเขตจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2544). หอพักนักศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อดุลย์ จาตุรงค์กุล. (2546). การบริหารการตลาดกลยุทธ์และยุทธวิธี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณา ธรรมาธิวัฒน์. (2548). กลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการหอพักในตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิษยา อุณหพัฒนา. (2555). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการด าเนินธุรกิจหอพักบริเวณมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง กรณีศึกษาโซนศรีป่าซาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27