ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อการจัดการภาพลักษณ์กับคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ Wedding ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เทียมหทัย แซ่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ธุรกิจงานแต่งงาน, ภาพลักษณ์, คุณภาพการให้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับ 1) การจัดการภาพลักษณ์ 2) คุณภาพการให้บริการ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์กับ คุณภาพการให้บริการที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน และ 4) ข้อเสนอแนะของ ผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์และคุณภาพการให้บริการของธุรกิจเวดดิ้ง (Wedding) ในจังหวัด ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการของธุรกิจเวดดิ้งในจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2556 จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test, One-Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์ของธุรกิจ Wedding ใน จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.62) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสถานที่ ( gif.latex?\bar{X} = 3.77) ด้านบุคลากร ( gif.latex?\bar{X} = 3.62) ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย ( gif.latex?\bar{X} = 3.56) และด้านนโยบายการดำเนินงาน ( gif.latex?\bar{X} = 3.51) ตามลำดับ

  2. ระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้ บริการของธุรกิจ Wedding ใน จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.79) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านประสานงานในการบริการ ( gif.latex?\bar{X} = 3.85) ด้านบุคลิกภาพผู้ให้บริการ ( gif.latex?\bar{X} = 3.84) ด้านความสะดวกที่ได้รับจากการบริการ ( gif.latex?\bar{X} = 3.75) และด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ( gif.latex?\bar{X} = 3.71) ตามลำดับ

  3. ผู้ใช้บริการที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็น เกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์กับคุณภาพการให้ บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของธุรกิจ Wedding ในจังหวัดขอนแก่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศและอายุ มีความคิดเห็นด้านสถานที่ ด้านนโยบายการดำเนินงาน และด้านความสะดวกที่ได้รับจากการบริการไม่แตกต่างกัน

  4. ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการจัดการภาพลักษณ์กับคุณภาพการให้บริการของธุรกิจ Wedding ในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการต่อการจัดการภาพลักษณ์ ที่มีค่าความถี่มากที่สุด ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนข้อเสนอแนะที่มีค่าความถี่ต่ำสุด ได้แก่ ด้านสถานที่ และข้อเสนอแนะของคุณภาพการให้บริการ ที่มีค่าความถี่มากที่สุด ได้แก่ ด้านความสะดวกที่ได้รับจากการบริการ และส่วนข้อเสนอแนะที่มีค่าความถี่ต่ำสุด ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพผู้ให้บริการ

References

จิรพร สุเมธีประสิทธิ์ และคณะ. (2547). การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: พัฒนาวิชาการ.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2548). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ที่ว่าการอำเภอจังหวัดขอนแก่น. (2556). คู่จดทะเบียนสมรสจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: ที่ว่าการอ าเภอ จังหวัดขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะพร อัศวหฤทัย. (2556). การสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสานที่มีผลต่อการใช้บริการสตูดิโอ ถ่ายภาพแต่งงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัทมา รบเลิศ. (2550). ความต้องการใช้บริการธุรกิจจัดงานแต่งงานแบบครบวงในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยโยนก.

รัศมี สุขประเสริฐ. (2551). ผลกระทบของค่านิยมขององค์กรและคุณภาพการให้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์. (2552). ศูนย์กลางการจดังานวิวาห์นานาชาติพร้อมรีแบรนด์สู่การเป็น Total Wedding Solution Provider. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2557, จาก http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=31F4C08E3A952E57707652303147&qu ery=IqLNp6rTw+jHwiI.

วรรณชนก จันทชุม. (2545). สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมิต สัชฌุกร. (2546). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

อารยา ปัญญานุวัฒน์. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจากผู้รับจัดการงานแต่งงานในจงัหวดัเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Herzberg, F. et. al. (1959). The Motivation to Work (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27