การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • อรรถกร จัตุกูล สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยว, การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 26 ราย ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 6 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ใช้สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามใช้สอบถามประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในด้านปัญหาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ความต้องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way ANOVA) แนวทางในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้ อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอโดยการพรรณ นาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัญหาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ สรุปได้ดังนี้ด้านแหล่งท่องเที่ยวและบริการ โดยภาพรวมปัญหาอยู่ที่ สถานที่นั่งพักผ่อนไม่เพียงพอ ด้านราคา โดยภาพรวมปัญหาอยู่ที่ ราคาอาหารไม่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า ด้านทำเลที่ตั้ง โดยภาพรวมปัญหาอยู่ที่ ความเหมาะสมของลานจอดรถ ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยภาพรวมปัญหาอยู่ที่ การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางอินเตอร์เน็ตยัง ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวได้อย่างทั่วถึง ด้านบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ที่ ด้านการสื่อสาร การพูด ภาษาต่างประเทศของเจ้าหน้าที่ ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ที่ ความต่อเนื่องในการปรับปรุงและ พัฒนาระบบการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ โดยภาพรวมอยู่ที่พื้นที่บริเวณแหล่งท่องเที่ยวขาด ความสมบูรณ์ ด้านผลิตภาพ โดยภาพรวมอยู่ที่คำบรรยายสถานที่ท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษมีไม่มาก ควรเพิ่มให้มากขึ้น

2. ความต้องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ สรุปได้ ดังนี้ ด้านแหล่งท่องเที่ยวและบริการ โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวต้องการให้มีบริการตู้ ATM ให้มากกว่านี้ ด้านราคา โดยภาพรวมอยู่ที่ สินค้าที่จำหน่ายไม่มีป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจน ด้านทำเลที่ตั้ง โดยภาพรวมอยู่ที่ความเหมาะสมของลานจอดรถ ต้องการให้พัฒนาลานจอดรถให้ได้มาตรฐาน ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ที่การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต้องการให้โฆษณาแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่านี้ ด้านบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ที่การสื่อสาร การพูดภาษาต่างประเทศของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ที่ สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศมีน้อย ต้องการให้พัฒนาความรู้ทางภาษาต่างประเทศให้กับเจ้าหน้าที่ และผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยว ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ที่การมีส่วนร่วมจากคณะกรรมการหมู่บ้าน ด้านลักษณะทางกายภาพ โดยภาพรวมอยู่ที่ป้ายเตือนการจราจร เช่น ทางโค้ง ทางขึ้นเขาลงเขา ด้านผลิตภาพ โดยภาพรวมอยู่ที่จำนวนบุคลากรที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศมีน้อย

โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้ได้รับพึงพอใจสูงสุด อันเป็นหัวใจของการให้บริการลูกค้าต่อไป

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว.

________. (2557). สถิตินักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.

กาลัก เต๊ะขันหมาก. (2553). หลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติและคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.

ฉลอง ของเดิม. (2548). ศักยภาพของอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอนในการส่งเสริม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา สุนทร ปัญญะพงษ์ และวิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ. (2550). กลยุทธ์การส่งเสริม การตลาดการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอีสานใต้. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2549). การวิจยัและพัฒนารูปแบบการจดัการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วน ร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหนาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

ลักขณา อินทร์บึง. (2553). บทบาทของเทศบาลนครขอนแก่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาโฮงมูนมงัเมืองขอนแก่น อำเภอเมือง จงัหวดัขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุภาภรณ์ อุดมวงศ์. (2553). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนตลาดคลองสาน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิทย์ นามบุญเรือง. (2553). แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2555). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2557-2560). บุรีรัมย์: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29