การวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จันทนา วัฒนกาญจนะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

อัตราส่วนทางการเงิน, หมวดธุรกิจการเกษตร, บริษัทจดทะเบียน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินในแต่ละปีของแต่ละบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ศึกษาอัตราส่วนทางการเงินเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของแต่ละบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากประชากรได้แก่บริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยจ านวน 15 บริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนและ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้แก่ รายงานประจำปี งบการเงินได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไร ขาดทุน รายงานแบบแสดงรายการข้อมูลประจ าปี(56-1) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ถึงปีพ.ศ. 2553 รวมทั้งสิ้น 6 ปี และข้อมูลทั่วไปของบริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ผลการวิจัยพบว่า

อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง พบว่าบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตร มีความสามารถในการชำระคืน หนี้สินระยะสั้นได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตร

 อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์พบว่าบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรส่วนใหญ่มีระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้มีแนวโน้มดีขึ้น มีประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้ได้สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของ อุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตร ยิ่งกว่านั้น การบริหารสินค้าคงเหลือ และการบริหารสินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขายมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ได้สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมใน หมวดธุรกิจการเกษตร

อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน พบว่าบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรมีหนี้สินของส่วนผู้ถือหุ้นมีแนวโน้มลดลงแสดงสัดส่วนโครงสร้างของเงินทุนนั้นมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่าหนี้สิน ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงแสดงว่าบริษัทมีผลกำไรจากการดำเนินงานที่สามารถจะจ่ายชำระดอกเบี้ยได้ดีมาก หนี้สินต่อสินทรัพย์ พบว่าโครงสร้างเงินทุนของบริษัทนั้นมาจากผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนมากและมีการบริหารหนี้สินได้สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตร

อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร พบว่าผลตอบแทนต่อยอดขาย การลงทุน และส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นพบว่า มีแนวโน้มดีขึ้น และมีความสามารถในการทำกำไรดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตร

อัตราส่วนประเมินผลบริษัทโดยรวม พบว่า Price/Earning Ratio ดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ในหมวดธุรกิจการเกษตร แต่ทิศทางของ Market/Book Ratio มีแนวโน้มสูงขึ้นที่นักลงทุนเข้าไปลงทุนมาก ขึ้นดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจการเกษตร

References

จันทนา โรจน์รุ่งศศิธร. (2554). การเงินธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 11). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

จิรยุทธ์ จันทนพันธ์. (2545). การวิเคราะห์ทางการเงินของธุรกิจประเภทบันเทิงและสันทนาการ: กรณีศึกษา บริษัท ดิจิตอล ออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และบริษัทซีวีดี เอ็นเตอร์ เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน). รายงานวิจัยปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ชาญชัย คุณาพรพิทักษ์. (2524). การวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชุบสังกะสีในประเทศ ไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2548-2553 (แบบ 56-1). สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2554, จาก http://www.set.or.th

________ . (2553). กลุ่มอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2554, จาก http://www.set.or.th

ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2540). การบริหารการเงิน (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

ประทุมวรรณ อุดมสุวรรณกุล นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร และ ศรีวัฒนา สวนมาล. (2532). การวิเคราะห์งบ การเงิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

พิพัฒน์ ศรีเสวกกาญจน. (2547). ศึกษาการใช้อัตราส่วนทางการเงินในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของฝ่าย วิเคราะห์หลักทรัพย์ในบริษัทหลักทรัพย์. รายงานวิจัย ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2532). เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการเงิน หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาลัย เจริญรุ่งเรืองดี. (2546). การวิเคราะห์งบการเงินเปรียบเทียบของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารทะเลเพื่อการส่งออก: กรณีศึกษาบริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ จำกดั (มหาชน). รายงานวิจัยปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ยุวดี เครือรัฐติกาล. (2546). การศึกษาการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท ฟิ นิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน). รายงานวิจัยปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2550). วิเคราะห์งบการเงิน. (พิมพ์ครั้ง ที่4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สมถวิล วงษ์เทศ. (2544). การวิเคราะห์บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริกุล ทัพภะทัต. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. รายงานวิจัยปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุชาดา เกลี้ยงประดิษฐ์. (2546). การวิเคราะห์ข้อมูลจากงบกระแสเงินสดของกลุ่มธุรกิจพลังงานซึ่งทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานวิจัยปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Brigham, E.F. and Ehrhardt, M.C. (2005). Financial Management: Theory and Practice (11th ed.). Cincinnati: South - Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29