การศึกษาสังคมในแนวทางมานุษยวิธี (Ethnomethodology)
คำสำคัญ:
ความจริงทางสังคม, แบบฉบับ, ปรากฏการณ์วิทยา, มานุษยวิธีบทคัดย่อ
มานุษยวิธีเป็นหนึ่งในวิธีหรือเครื่องมือทางการศึกษาสังคมที่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ที่เสนอโดย Harold Garfinkel นักวิชาการชาวอเมริกัน ซึ่งให้ความสนใจกับการศึกษาชีวิตของผู้คนในวงการต่าง ๆ เช่น แพทย์ ตำรวจ หรือแรงงานโรงงาน โดยให้ความสำคัญกับกรอบความคิดเรื่องแบบฉบับ (Typicality) สำหรับทำความเข้าใจความจริง (Reality) ที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่สังคมยอมรับและปฏิบัติตามกันมาในแบบเดียวกัน ทำให้ปรากฏการณ์ในสังคมที่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ให้สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
วิธีการศึกษานำเอาวิธีการของนักมานุษยวิทยาที่เรียกว่า การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participant observation) มาใช้ โดยผู้ศึกษาต้องเข้าไปอยู่ในปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่ไม่ต้องผูกติดหรือฝังตัวเป็นคนใน (Insider) เหมือนที่นักมานุษยวิทยาพยายามทำ โดยมีหัวใจสำคัญของการศึกษาก็คือ การตั้งคำถามกับการกระทำทางสังคมของปัจเจกในแต่ละวงการที่ช่วยประกอบสร้างชุดความคิดหรือการกระทำต่างๆ ให้กลายเป็นความเป็นจริงทางสังคม และโครงสร้างสังคมดังกล่าวสามารถดำรงอยู่และสืบทอดต่อไปได้อย่างไร และปัจเจกมีวิธีการอย่างไรในการจัดการกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เขาต้องเผชิญ เพื่อจะทำให้ระเบียบทางสังคมดำรงอยู่ต่อไปได้
References
Berger, Peter L. and Luckmann, Thomas. (1967). The Social Construction of Reality: a Treatise in the Sociology of Knowledge. New York: Anchor Books.
Billing, Michael. (1997). Rhetorical and Discursive Analysis: How Families Talk about the Royal Family. In Hayes, Nicky (1997). Doing qualitative analysis in psychology. (pp. 39-54). Hove: Psychology.
Bourdieu, Pierre. (1977). Outline a Theory of Practice. Cambridge: Cambridge University Press.
Durkheim, Emile. (1982). Lukes, Steven, ed. The Rules of Sociological Method and Selected Texts on Sociology and Its Method. W. D. Halls (translator.) New York: Free Press.
Garfinkel, Harold. (1976). What is Ethnomethodology? In Studies in Ethnomethodology. (pp. 1-34). 1976.
Geertz, Clifford. (1973). The Interpretation of Culture. New York: Basic Books.
Geertz, Clifford. (1983). Local Knowledge: Further Essays in Interpretive Anthropology. New York: Basic Books, Inc.
Goffman, Erving. (1959). The Representation of Self in Everyday Life. New York: Doubleday.
Heritage, John. (1984). Maintaining Institutional Relation. In Garfinkel Ethnomethodology. (pp. 179-232). New York: Polity Press.
Husserl, Edmund. (2012). Ideas: General Introduction to Pure Phenomenology. London: Routledge.
Jehenson, Roger. (1973). A Phenomenological Approach to the Study of the Formal Organization. In G. Psathas, Ed., (1973). Phenomenological Sociology—Issues and Applications. (pp. 219-247). New York: John Wiley & Sons.
Kuhn, Thomas. 2012. The Structure of Scientific Revolution. Chicago: University of Chicago Press.
Malinowski, Bronislaw. (2014). Argonauts of the Western Pacific. London: Routledge Press.
Wittgenstein, Ludwig. (2013). Tractatus Logico-Philosophicus. London: Taylor & Francis Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.