การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) กับอนาคต การจัดการศึกษาสำหรับสังคมในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ธราพร
  • อารัมภ์ เอี่ยมละออ
  • เบญจวรรณ รุ่งเรืองศุภรัตน์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, ฐานวิถีชีวิตใหม่, การจัดการการศึกษา

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนในสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทเสมือนปัจจัยสำคัญในการดํารงชีวิต เป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในสถานการณ์ของสังคมในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและปัญหาการใช้ชีวิตในสภาพการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากเป็นการผสมผสานของการเรียนรู้หลายรูปแบบ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ การเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน การเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีระยะไกล การเรียนด้วยตนเอง และการเรียนจากประสบการณ์ โดยที่มีข้อดีของการเรียนรู้แบบผสมผสานคือ 1) การตอบสนองความถนัดของผู้เรียนที่ต่างกันทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เท่าเทียม 2) ตอบสนองต่อสภาพสังคมที่เทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งของการดำรงชีวิต 3) ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพได้สูงสุดทั้งผู้สอนและผู้เรียน 4) การประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา และ 5) สามารถประสานกับระบบธนาคารหน่วยกิต MOOCs และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยปัจจัยหลักของความสำเร็จในการเรียนรู้คือ 1) ผู้สอนซึ่งต้องมีความสามารถหลากหลายทั้งเนื้อหาวิชาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 2) ผู้เรียนซึ่งต้องมีความพร้อมและความเข้าใจ 3) สถานศึกษาซึ่งต้องให้การสนับสนุน และ 4) ความพร้อมด้านทรัพยากรโดยเฉพาะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ และการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย และเนื่องจากผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับสภาพการเรียนการสอนในห้องเรียนและสถานศึกษาและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการผสานความสามารถในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสติปัญญาของคนกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสังคมโลกจึงเป็นการบูรณาการที่เหมาะสมและเป็นแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับฐานวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันและอนาคต

References

Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. Retrieved from http://www.testden.com/ partner/blended%20learn.html

Graham, C. R. (2005). Blended learning system: definition, current trends, and future directions In C. J. Bonk and C. R. Graham (Eds.), Handbook of blended learning: Global perspective. SanFrancisco, CA: Pfeiffer.

Horn, B.M. & Staker, H. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper,: Innosight Institute.

McGriff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Systems, College of Education, Penn State University.

Wikipedia. (2007). Blended learning. Retrieved on May 3, 2020, from https://en.wikipedia.org/wiki/Blended_learning

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

ธราพร ท., เอี่ยมละออ อ., & รุ่งเรืองศุภรัตน์ เ. (2022). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) กับอนาคต การจัดการศึกษาสำหรับสังคมในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 13–20. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1471