การมีพื้นที่ของสตรีหม้ายมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ไวยวรรณจิตร
  • ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ
  • มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง
  • คอลัฟ ต่วนบูละ
  • แวนีซะ สุหลง
  • สุไรยา หนิเร่

คำสำคัญ:

การมีพื้นที่, สตรีมุสลิม, สตรีหม้าย, การสร้างเสริมสุขภาพ, กิจกรรมทางกาย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การมีพื้นที่ของสตรีมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนมุมมองต่อการมีพื้นที่สร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิมภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิมภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้เป็นกลุ่มสตรีมุสลิม จำนวน 348 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ประมวลผลวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐและเอกชนต่อมุมมองการมีพื้นที่สร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) ส่วนใหญ่เปิดโอกาสให้สตรีหม้ายได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 30.5) รองลงมาคืออยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 30.2) การสนับสนุนให้สตรีมุสลิมมีกิจกรรมทางกายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การฟังบรรยาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 39.1) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 31.6) ขณะที่การมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สตรีมุสลิมมีส่วนร่วมในการมีกิจกรรมทางกาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 33.3) ทั้งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม และการจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัย และความเป็นสตรีมุสลิม และการจัดให้มีอุปกรณ์ช่วยส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นในเรื่องของการจัดสถานที่เฉพาะ/ไม่ปะปนหญิงชายสำหรับสตรีมุสลิมในการทำกิจกรรมทางกาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 41.1)

References

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

โครงการหน่วยเคลื่อนที่เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้. (2559). โครงการหน่วยเคลื่อนที่เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้. ม.ป.พ. ม.ป.ท.

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และยูซุฟ นิมะ. (2552). การจัดบริการสุขภาพตามวิถีมุสลิม 4 ช่วงวัย. สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุรชัย ไวยวรรณจิตร มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง และนูรมาน จินตารา. (2558). วิถีชีวิตของประชาชนมุสลิมที่ส่งผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ. นครปฐม: ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

ไวยวรรณจิตร ส., หลังปูเต๊ะ ป., มะเก็ง ม., ต่วนบูละ ค., สุหลง แ., & หนิเร่ ส. (2022). การมีพื้นที่ของสตรีหม้ายมุสลิมกับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 21–32. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1472