ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการสถานเสริมความงามในเขตปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • คีฟาง เทพยกุล
  • พรนภา ธนโพธิวิรัตน์
  • สุพิศ บุญลาภ

คำสำคัญ:

การบริการ, สถานเสริมความงาม, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสถานเสริมความงามในเขตจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานเสริมความ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า T -Test และ F – Test

            ผลการวิเคราะห์ พบว่า การเข้าใช้บริการสถานเสริมความงาม เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.5  มีอายุเฉลี่ย 20 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 80.0 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 36.0  และส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 45.0 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อย 67.0 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 81.0  ความคิดเห็นในปัจจัยทางการตลาดที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ตั้ง ด้านคุณภาพการบริการ และด้านพนักงาน ส่วนที่อยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการบริการ ด้านราคา ตามลำดับ รวมข้อเสนอแนะการปรับปรุงพัฒนาด้านต่าง ๆ ของสถานเสริมความงามให้มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กนกพร กระจ่างแสง, ประสพชัย พสุนนท์, ธีรวัฒน์ จันทึก. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการเลือกทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 64–75.

ของขวัญ ฟูจิตนิรันดร์. (2562). มุ่งท๊อปไฟว์ เมืองไทย สยายปีรุกนอก. สืบค้น 29 มีนาคม 2563, จาก https://www.thebangkokinsight.com/216760/

จารีย์ พรหมณธ, ชุลีวรรณ ปราณีธรรม, ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ และนิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์. (2562). พฤติกรรมการเลือกใช้สปาของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารช่อพะยอม, 30(2), 119–130.

ชลดา แสงทอง และจันทิมา เอกวงษ์. (2559). ความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์ความงามจันทร์สว่าง สาขาพระนครศรีอยุธยา. วารสารราชมงคลล้านนา, 4(1), 64–78.

เพ็ญศรี วรรณสุข. (2556). คุณภาพบริการและกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการของลูกค้าธุรกิจสปาในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 22-33.

ศัชชญาส์ ดวงจันทร์ และ นริศรา คำแก่น. (2558). ความคาดหวังต่อการเลือกใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพและความงาม. วารสารวิจัย มสด., 3(11), 27 – 46.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). โอกาสทางธุรกิจของคลินิกเสริมความงาม. สืบค้น 30 มีนาคม 2563, จาก https://doctorcosmetics.com

สุชาดา มีสมกิจ และ พรทิพย์ ชนะค้า. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและ.ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดกับการใช้บริการคลีนิกเสริมความงามของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเซนต์จอห์น, 21(28), 190–200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เทพยกุล ค., ธนโพธิวิรัตน์ พ., & บุญลาภ ส. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการสถานเสริมความงามในเขตปทุมธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 90–96. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1480