สัมพันธบทของภาพยนตร์อินโดนีเซียช่วงทศวรรษ 1980-2010
คำสำคัญ:
สัมพันธบท, ภาพยนตร์อินโดนีเซีย, อัตลักษณ์ของคนมุสลิมบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมพันธบทของภาพยนตร์อินโดนีเซียในช่วงทศวรรษ 1980-2010 โดยคัดเลือกภาพยนตร์ 3 เรื่อง คือ “มหากาพย์แห่งรัก” (Ayat-Ayat Cinta) “ผู้หญิงสวมสร้อยโสรบัน” (Perempuan Berkalung Sorban) และ “พลังรักพลังศรัทธา” (Ketika Cinta Bertasbih) ที่ถูกนำเสนอในช่วงทศวรรษ 1980-2010 เพื่อวิเคราะห์ตัวบทและสัมพันธบทของภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดสัมพันธบท ซึ่งมีเกณฑ์การวิเคราะห์ 5 ด้าน คือ การคงเดิม (Convention) ความแปลกใหม่ (Invention) การขยายความ (Extension) การตัดทอน (Reduction) และการดัดแปลง (Modification) และแนวคิดการเล่าเรื่องประกอบการอธิบายเพื่อหาความเชื่อมโยงของลักษณะสัมพันธบทของภาพยนตร์อินโดนีเซียในช่วงทศวรรษดังกล่าว ประกอบด้วยไปด้วย ตัวละคร โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ฉาก ความขัดแย้ง และสัญลักษณ์ ที่นำเสนอความหมาย คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยม และอุดมการณ์ทางสังคม จากการศึกษาพบว่าภาพยนตร์เหล่านี้ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดและผลิตซ้ำความหมายบางอย่างให้คนในสังคมรับรู้ ผ่านแนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และยังมีบทบาทในการตอกย้ำอุดมการณ์ของสังคมผ่านเนื้อเรื่องต่าง ๆ ขณะเดียวกันสัมพันธบทของภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องนี้มีความคงเดิม ความแปลกใหม่ และการขยายความ เนื่องจากกระแสการฟื้นฟูศาสนาอิสลามที่ก่อให้เกิดกระบวนการอิสลามานุวัตร และถูกแทรกในเนื้อหาของภาพยนตร์ รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันของลักษณะของความเป็นชาติ อัตลักษณ์ของคนมุสลิมอินโดนีเซีย และการเมืองในอินโดนีเซีย
นอกจากความนิยมของผู้ชมที่มีต่อภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่างข้างต้น ภาพยนตร์เหล่านี้ยังได้สอดแทรกอุดมการณ์ทางการเมืองให้แก่ผู้ชมได้รับรู้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาพยนตร์เหล่านี้ได้เพิ่มมากขึ้นในยุคปฏิรูป (Reformasi) หลังการล่มสลายของยุคระเบียบใหม่ (Orde Baru) ฉะนั้นปัจจัยการก่อเกิดสัมพันธบทของภาพยนตร์อินโดนีเซีย ทศวรรษ 1980-2010 เกิดจากระบบการเมืองการปกครองที่ผันเปลี่ยนไปตามยุคสมัยของอินโดนีเซีย ซึ่งบริบททางการเมืองที่สัมพันธ์กับการศึกษาคือ ช่วงทศวรรษ 1980-2010
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์.
นพพร ประชากุล. (2543). สัมพันธบท (Intextuality). สารคดี, 16(182), 175-177.
สุธี นามศิริเลิศ. (2556). อิสลามานุวัตรละครโทรทัศน์อิสลามในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณทิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Auikool, Chontida. (2017). The Voice of the Silence : Indonesia's and Thailand's Alternative Memory and Culture of Impunity in Films. In Morakot Meyer&Zhu Tingshu(Ed.), Multicultural Asean : Diversity in Identity, Language, Memory and Media, (pp. 91-124). Nakhon Pathom, Thailand: Multicultural ASEAN Center Project (MU-MAC), Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University.
Biran, Misbach Yusa. (2009). Sejarah film, 1900-1950: bikin film diJawa. Jakarta, Indonesia: Komunitas Bambu.
Clark, M. (2004). Masculinities and symbolic violence in recent Indonesian Cinema. Journal of Southeast Asian Studies, 35(1), 113-131.
Hanan, D. (2010). Innovation and tradition in Indonesian Cinema. Third Text, 24(1), 107-121.
Heeren, K. V. (2007). Return of the Kyai: Representations of horror, commerce, and censorship in post-Suharto Indonesian film and television. Inter-Asia Cultural Studies, 8(2), 211-226.
Mahayana, Maman S. (2007). Ekstrinsikalitas Sastra Indonesia. Jakrata, Indonesia: PT RajaGrafindo Persada.
Sasono, Eric. (2011). MenJegal Film Indonesia Pemetaan Ekonomi Politik Industri Film Indonesia. Jakrata, Indonesia, Rumah Film.
Sen, Krishna. (1993). Politics of melodrama in Indonesian cinema. In Melodrama and Asian cinema. Cambridge, England: Cambridge: University Press.
Sen, Krishna. (1994). Indonesian cinema: Framing the new order. London, England: Zed Books.
Teeuw, A. (1967). Modern Indonesian literature. The Hague, Natherland: Martinus Nijhoff.
Vatikiotis, M. (R.J). (1998). Indonesian politics under Suharto: The rise and fall of the new order. NY: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.