การเปลี่ยนแปลงด้านอรรถศาสตร์ของ “ฤๅ”

ผู้แต่ง

  • กรกฤช มีมงคล

คำสำคัญ:

การศึกษาข้ามสมัย, ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ, อรรถศาสตร์, การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของคำว่า “ฤๅ” โดยประยุกต์กรอบแนวคิดของ Terry Crowley มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ จารึกวัดเขาสุมนกูฎ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จินดามณีเล่ม 1 ลิลิตพระลอ ราชาธิราช และจินดามณีเล่ม 2 ผลการศึกษาพบว่า ในสมัยสุโขทัยคำว่า “ฤๅ” มักใช้ในความหมายเชิงอุปลักษณ์มีความหมายว่า “เช่นนั้น” ในสมัยอยุธยาพบว่า การใช้คำว่า “ฤๅ” ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัยแบบความหมายแยกออก โดยพบว่ามีความหมายเป็นคำเชื่อมเพื่อแสดงเหตุผล ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพบว่า คำว่า “ฤๅ” มีความหมายแยกออกมาเป็นคำสร้อยและมักใช้ในวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง ในสมัยปัจจุบันพบว่า การใช้คำว่า “ฤๅ” มักใช้แทนคำว่า “หรือ” ในประโยคคำถาม ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจด้านภาษาศาสตร์เชิงประวัติต่อไปในอนาคต

References

กรมศิลปากร. (2512). จินดามณี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.

คณาจารย์ภาคภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2554). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โครงการวรรณกรรมอาเซียน สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562).จินดามณีเล่ม 1-2 ฉบับพระเจ้าบรมโกศ. (หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์).สืบค้น 15 มิถุนายน 2563, จาก http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book/54_265/mobile/index.html

เจ้าพระยาพระคลัง (หน). (2513). ราชาธิราช. ธนบุรี: อมรการพิมพ์.

ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. (2534). วรรณคดีสุโขทัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

น้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์. (2541). การเปลี่ยนแปลงของภาษา ภาษาอังกฤษผ่านกาลเวลา. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ ลำดับที่ 35 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ และคณะ. (2559). การกำหนดสมัยของการยาวขึ้นของสระภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 23(1), 70-102.

พุทธชาติ ธนัญชยานนท์. (2536). การเกิดความต่างด้านความสั้นยาวของสระกลางและสระต่ำในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

ราตรี แจ่มนิยม. (2546). การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของคำกริยาที่กลายเป็นคำไวยากรณ์ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

วริษา กมลนาวิน. (2554). ระบบข้อความ. ใน ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. ปทุมธานี: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2549). การศึกษาความหมาย. กรุงเทพมหานคร:คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (อัดสำเนา).

สิทธา พินิจภูวดล. (2542). ลิลิตพระลอวรรณกรรมสมัยอยุธยา. ฉบับแปล. กรุงเทพฯ:โครงการวรรณกรรมอาเซียน.

Crowley, T. (1987). An Introduction to Historical Linguistics. Papua New Guinea: University of Papua Ner Guinea Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

มีมงคล ก. (2022). การเปลี่ยนแปลงด้านอรรถศาสตร์ของ “ฤๅ”. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(1), 28–38. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1484