การวิเคราะห์ความคิดเห็นการจัดการห้องพักธุรกิจรีสอร์ต เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของการให้บริการห้องพัก: กรณีศึกษา ห้องพักธุรกิจรีสอร์ต ตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • วัฒนา ทนงค์แผง

คำสำคัญ:

การจัดการห้องพัก, ธุรกิจรีสอร์ต, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความคิดเห็นการจัดการห้องพักธุรกิจรีสอร์ตเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการให้บริการห้องพัก มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น การจัดการห้องพักธุรกิจรีสอร์ตเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของการให้บริการห้องพัก เพื่อนำมาใช้กำหนดแนวทางการจัดการห้องพักเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ พนักงานผู้ใช้บริการธุรกิจรีสอร์ตของตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก 100 ตัวอย่าง จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นในการจัดการห้องพักธุรกิจรีสอร์ตเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3.81 โดยมีค่าเฉลี่ยด้านการจัดการห้องพักสูงสุดที่ 3.96 และค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการให้บริการ ที่ 3.67 ทำให้เกิดการมุ่งเน้น พัฒนาในเรื่องของเครื่องมือ เครื่องใช้ ในการให้บริการจัดการห้องพักเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

References

กรมการท่องเที่ยว. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521

กฤษฎา ติยวิวัฒนานุกุล และโสมสกาว เพชรานนท์. (2559). การบริหารการจัดการโรงแรมสีเขียวในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ กรณีศึกษา เกาะเสม็ด. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 3(2), 50-60.

ณัฐภน ใจแสน. (2558). โครงการจัดตั้งรีสอร์ตเชิงอนุรักษ์ The Villa Kanchanaburi (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

วริศรา วาริชวัฒนะ. (2556). ที่พักแรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ระชานนท์ ทวีผล. (2558). การให้ความหมายและรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ของโรงแรมในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 4(1), 24-37.

วันวิสา วัลย์ดาว. (2553). การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมในจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิเชียร เจนตระกูลโรจน์. (2560). แนวทางการออกแบบรีสอร์ตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา Dhamajati Resort เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สรัญญา กองละเอียด. (2555). การศึกษารูปแบบการจัดการที่พักแรมแบบอีโค รีสอร์ต (Eco Resort) อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก

สำนักงานจังหวัด นครนายก. (2560). จังหวัดนครนายก. สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จากhttps://ww2.nakhonnayok.go.th/frontpage

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

ทนงค์แผง ว. (2022). การวิเคราะห์ความคิดเห็นการจัดการห้องพักธุรกิจรีสอร์ต เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของการให้บริการห้องพัก: กรณีศึกษา ห้องพักธุรกิจรีสอร์ต ตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(1), 70–82. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1488