สุริยพันธุ์คำกลอน : ลักษณะเด่นและภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสยาม สมัยรัชกาลที่ 5

ผู้แต่ง

  • สุริยา พิมพ์ภา
  • กีรติ ธนะไชย

คำสำคัญ:

สุริยพันธุ์คำกลอน, ลักษณะเด่น, ภาพสะท้อนสังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นของเรื่องสุริยพันธุ์คำกลอน และเพื่อศึกษาภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 ผลการศึกษาพบว่าสุริยพันธุ์คำกลอน มีลักษณะเด่น 3 ประการคือ ลักษณะเด่นด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้แต่งกับตัวบทวรรณกรรม ลักษณะเด่นด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมัยที่แต่งกับตัวบทวรรณกรรม และลักษณะเด่นด้านการรักษาขนบการพรรณนา ซึ่งการศึกษาลักษณะเด่นเหล่านี้ ทำให้เข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของผู้ประพันธ์ สามารถเป็นเครื่องมือให้ผู้อ่านได้เข้าใจตัวบทและช่วยในการตีความ ทั้งนี้สุริยพันธุ์คำกลอนยังปรากฏภาพสะท้อนสังคมไทย คือ การคมนาคมขนส่ง การศึกษา การสาธารณสุข การสื่อสาร เศรษฐกิจ ความมั่นคง และการปกครองแผ่นดิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นบันทึกการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรูปแบบของวรรณกรรมด้วย

References

กรมศิลปากร. (2556). สุริยพันธ์คำกลอน. กรุงเทพฯ: กองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2546). พระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค.

เจตนา นาควัชระ. (2514). วรรณคดีวิจารณ์และการศึกษาวรรณคดี. ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (บรรณาธิการ) วรรณไวทยากรชุมนุมบทความทางวิชาการ. (หน้า 20). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ชัย เรืองศิลป์. (2545). ประวัติศาสตร์ไทย สมัย พ.ศ.252-2453 ด้านสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.

นิตยา แก้วคัลณา. (2557). บทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย: ลีลา ความคิดและการสืบสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2546). พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2555). ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนัสสวาส กุลวงศ์. (2539). ภาพสะท้อนสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : กรณีศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

รอง ศยามานนท์. (2525). การปฏิรูปทางการคมนาคม ขนส่งและการสื่อสาร. ใน รอง ศยามานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ). ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475. (หน้าที่ 315,318, 334-343). กรุงเทพฯ: กองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). สุนทรียรสแห่งวรรณคดี. กรุงเทพฯ: ณ เพขร.

วุฒิชัย มูลศิลป์. (2525). การปฏิรูปทางการศึกษา. ใน รอง ศยามานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ). ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475. (หน้าที่ 286). กรุงเทพฯ: กองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร.

วัฒน์ระวี. (2552). แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง กับความทรงจำแห่งรัชสมัย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2531). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิลปากร, กรม. (2556). สุริยพันธ์คำกลอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สมบูรณ์ ธรรมครองอาตม์. (2525). การปฏิรูปทางการศาล. ใน รอง ศยามานนท์ และคณะ (บรรณาธิการ). ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475. (หน้าที่ 368-370). กรุงเทพฯ: กองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร.

สมพร มันตะสูตร. (2524). วรรณกรรมสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. (2525). ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4–พ.ศ.2475. กรุงเทพฯ: กองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล : ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

พิมพ์ภา ส., & ธนะไชย ก. . (2022). สุริยพันธุ์คำกลอน : ลักษณะเด่นและภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสยาม สมัยรัชกาลที่ 5. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(2), 15–27. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1496