รูปแบบการวัดการลดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินงานขององค์กรท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุพิศ บุญลาภ
  • สนิทเดช จินตนา
  • อารีวรรณ หัสดิน
  • อิศรา ศิรมณีรัตน์
  • มณิภัทร์ ไทรเมฆ

คำสำคัญ:

รูปแบบการวัด, การลดความเหลื่อมล้ำ, การดำเนินงานขององค์กรท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการวัดการลดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินงานของหน่วยงานท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครรังสิตที่เป็นการเขตการปกครองท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วยเทคนิคการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ความคลาดเคลื่อน 0.05  เครื่องมือวิจัยแบบสอบถามแบ่งเป็น 5 ระดับคะแนน มีค่าความเที่ยงตรงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคทั้งฉบับ 0.976 สถิติการการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบแบบจำลองคือการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (EFA) และเชิงยืนยัน (CFA) ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยลำดับที่หนึ่งและการวิเคราะห์ลำดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าดัชนีเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (Chi-square=79.41, X2/df = 1.42, GFI = 0.97, AGFI =0.96, CFI = 0.99 และ RMSEA = 0.031) พบว่ามี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ 2) เวทีประชาธิปไตย และ 3) การเพิ่มโอกาส และแต่ละองค์ประกอบสามารถใช้อธิบายโครงสร้างการวัดการลดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินงานขององค์กรท้องถิ่นได้ ร้อยละ 73-93 โดยที่องค์ประกอบเวทีประชาธิปไตยอฺธิบายได้มากที่สุด และองค์ประกอบการเพิ่มโอกาสอธิบายได้น้อยที่สุด รูปแบบการวัดการลดความเหลื่อมล้ำนี้ อาจเป็นรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมเพื่ออธิบายว่าการดำเนินการในท้องถิ่นดำเนินไปอย่างไรภายใต้เป้าหมายของนโยบายส่วนกลางที่สามารถนำไปใช้สำรวจตรวจสอบกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นอื่นๆ ได้

References

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-16.

นันทิดา จันทร์ศิริ. (2558). ธรรมาภิบาลระดับท้องถิ่น: มุมมองด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 95 – 117.

ภรัณยู มายูร และ อลงกรณ์ อรรคแสง. (2561). บทบาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 81-94.

สมพงษ์ เกศานุช และคณะ. (2560). บทวิเคราะห์นโยบายแห่งรัฐ จาก “ประชานิยม” สู่ “ประชารัฐ”: ความเหมือนและข้อแตกต่างจากการกำหนดทิศทางของรัฐบาลไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 361-375.

สมศักดิ์ อมรสิริพงศ และ อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน. (2560). “ELDERFARE Model”: รูปแบบและกลไกการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สำหรับกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 29-40.

อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ และสมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. (2564). การสังเคราะห์บทบาทเมืองอัจฉริยะที่มีผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม: การสังเคราะห์อภิมาน. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 12(1), 7-28.

Bevir, M. (2010). Democratic Governance. Princeton and Oxford: Printon University.

Comrey, L.A. and Lee, H.B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). Hillside, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Hair J. et al., (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Jachtenfuchs, M. (2001). The Governance Approach European Integration. Journal of Comman Market Studies, 39(2), 245-264.

JR, Karl D. & Shaun, G. (2012). What Makes a State and Peaceful? Good Governance, Legitimacy and Legal-Rationalty Matter Even More for Low-Income Countries. Civil Wars, 14(4), 499-520.

Regina, O. A. & Ukadike, O.J. (2013). Good Governance: A Panancea for Peace and Stability in Nigeria Nation. Public Policy and Administration Research, 3(4), 121-125.

Srimahawaro, W. (2018). The reduction of sustainable inequality and unfair transitional period of Thailand. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 10(2), 40-48.

Tabachnick, B.G. and Fidell, L.S. (2007). Using Multivariate Statistics (5th ed.). New York: Allyn and Bacon.

Tedeschi, R.G. and Calhourn, L.G. (2004). Posttraumatic Growth: Conceptual Foundations and empirical evidence. Psychological Inquiry, 15(1), 1-18.

Ved P. Nanda. (2006). The Good Governance Concept Revisited. The ANNALS of the American. Academy of Political and Social Science, 603(1), 269-283.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

บุญลาภ ส., จินตนา ส., หัสดิน อ., ศิรมณีรัตน์ อ., & ไทรเมฆ ม. (2022). รูปแบบการวัดการลดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินงานขององค์กรท้องถิ่น. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(2), 28–38. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1497