แนวทางปรับปรุงคุณภาพการจัดการบริการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการให้บริการ ของฝ่ายสนับสนุนสมาชิกธุรกิจทางตรงกลุ่มธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ ของสมาคมธุรกิจการขายตรงไทยหลังสถานการณ์โควิค19

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการบริหารการศึกษา

คำสำคัญ:

แนวทางปรับปรุงคุณภาพ, การจัดการบริการที่มีประสิทธิภาพ, ฝ่ายสนับสนุนสมาชิกธุรกิจทางตรง, ธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์การจัดการบริการของธุรกิจการค้าขายตรงกลุ่มอาหารเสริมสุขภาพและความงามของสมาคมธุรกิจการขายตรงไทย เมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดแบบตรงสำหรับธุรกิจไทย 2) ศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพการจัดการบริการของธุรกิจการค้าขายตรงกลุ่มอาหารเสริมสุขภาพและความงามของสมาคมธุรกิจการขายตรงไทย ในมุมมองของผู้รับบริการ 3) เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงคุณภาพการจัดการบริการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการกำหนดเป็นกลยุทธ์การจัดบริการของธุรกิจการค้าขายตรงกลุ่มอาหารเสริมสุขภาพและความงามของสมาคมธุรกิจการขายตรงไทยเขตกรุงเทพฯ ในอนาคต  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed  Research  Methodology) กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย คือ บริษัทขายตรงไทยของสมาคมธุรกิจขายตรงไทย จำนวน 12 แห่งที่มาจากการคำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 สถิติที่ใช้ สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ และฐานนิยมเปรียบเทียบด้วยสถิติที (One Sample t – test : test value = 3) แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร/วรรณกรรม/แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis)  พบว่า  1) การตลาดแบบตรงสำหรับธุรกิจไทยมีบริษัทขายตรงที่จัดบริการส่งเสริมผู้จำหน่ายอิสระธุรกิจขายตรงสอดคล้องกับมาตรฐานบริษัทขายตรงส่งเสริมผู้จำหน่ายอิสระธุรกิจขายตรง บริษัทขายตรงทั้ง 3 แห่ง สามารถปรับปรุงคุณภาพบริการด้านต่าง ๆ  2) ความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาเป็นบริษัทขายตรงส่งเสริมผู้จำหน่ายอิสระธุรกิจขายตรง ผู้ปฏิบัติงานก็จะสามารถดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องให้ตอบสนองต่อนโยบายได้               3) สามารถจัดบริการของบริษัทขายตรงตามมาตรฐาน เพื่อการรับรองมาตรฐานบริษัทขายตรงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการบริหารการศึกษา

นนทบุรี

References

โชคชัย หะริณพลสิทธิ์. (2565). องค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจเครือข่ายขายตรงในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9(1), 55–73.

ธนิดา ภูสุวรรณ์ และอุทัยรัตน์ เมืองแสน. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะผู้นำทีมและผลการดำเนินงานของธุรกิจขายตรงในประเทศไทย. วารสารรัชภาคย์, 16(48), 331-348.

ณฐาพัชร์ วรพงศพัชร์. (2563). ลักษณะองค์การที่เป็นเลิศที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 12(1), 30-45.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2564). แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับธุรกิจรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร อำเภอเมืองสมุทรสาคร. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2), 161-174.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การบริหารจัดการขยะภายในแผนกห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 98-112.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การพัฒนาการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(2), 42-50.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของพนักงานบริษัท ประธานการไฟฟ้า จำกัด.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(1), 40-54.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). คุณภาพการให้บริการของธุรกิจรับผลิตอาหารเสริมครบวงจร ในอำเภอเมือง สมุทรสาคร. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(2), 41-51.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งผลิต ผลิตและสร้างแบรนด์อาหารเสริมสุขภาพผ่านสื่อดิจิทัลของ บริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 33-43.

นัททชา มณีรัตน์ และชัยยันต์ เมธานุวัฒนเดช. (2565). การศึกษาถึงรูปแบบการดำเนินงานที่ส่งผลต่อทักษะในการประกอบธุรกิจขายตรง. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ บูรพาปริทัศน์, 7(1), 93-107.

พงศ์สฎา เฉลิมกลิ่น. (2563). การจัดการเครือข่ายทางธุรกิจในแง่มุมของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางธุรกิจ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 142-151.

เพชรรัตน์ นิลประเสริฐ และระพีพรรณ พิริยะกุล. (2561). อิทธิพลของการผูกพันต่อเป้าหมายการแสวงหา ความรู้และการสื่อสารต่อความผูกพันในองค์การ: แนวคิดของตัวเองในตัวแทนขายตรงในฐานะตัวแปรคั่นกลาง. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 18(1), 38-46.

มุกดา ผิวคำ, ณัฐณภรณ์ เอกนรา จินดาวัฒน์, และสุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคกลยุทธ์ทางการตลาดการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและการบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริหารธุรกิจขายตรงในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1603-1613.

สุชีลา ศักดิ์เทวิน. (2563). รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ

ในจังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อาบิดะ บริพันธ์. (2559). ธุรกิจเครือข่าย: พัฒนาการขายตรงที่ก้าวไกล. Princess of Naradhiwas University Journal, 1(3), 19-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite

วรพงศ์พัชร์ ณ. (2023). แนวทางปรับปรุงคุณภาพการจัดการบริการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการให้บริการ ของฝ่ายสนับสนุนสมาชิกธุรกิจทางตรงกลุ่มธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ ของสมาคมธุรกิจการขายตรงไทยหลังสถานการณ์โควิค19. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(1), 16–25. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/2324