Journal Information
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2018): วารสารวิจัยธรรมศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561)
ปี พ.ศ. 2561 ปีที่ 1 ในการจัดพิมพ์วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธ วิกสิตาราม กองบรรณาธิการดำเนินนการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI โดยมีการตรวจประเมินผลงานวิชาการอย่างรอบด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน เป็นผลงานที่ไม่ละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 รูป/คน ประเมิน 1 บทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 รูป/คน จะประเมินบทความได้เพียง1 บทความเท่านั้นในวารสารแต่ละฉบับ เพื่อรักษามาตรฐานทางวิชาการ
วารสารวิจัยธรรมศึกษาฉบับนี้ได้นำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
- ศึกษาวิเคราะห์เรื่องคุณธรรมจริยธรรมในแนวคิดและทฤษฎีตะวันตกและตะวันออก (An Analytical Study of Virtue and Ethics in Western and Eastern Concepts and Theories) โดย พระศรณรินทร์ สนฺติกโร สรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมในแนวคิดและทฤษฎีตะวันตกและตะวันออกมีแนวความคิดที่ต่างกันคือนักปรัชญาตะวันตกสร้างทฤษฎีคุณธรรมจริยธรรมขึ้นบนสมมุติฐานที่ยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ส่วนคุณธรรมและจริยธรรมตามทัศนะของตะวันออกมีที่มาจากศรัทธาและปัญญา โดยคุณธรรมและจริยธรรมคือศรัทธามักยึดโยงอยู่กับสัจธรรมของพระเจ้า คุณธรรมและจริยธรรมจากปัญญายึดโยงอยู่กับสัจธรรมตามกฎธรรมชาติ
- ศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำกับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษา (An Analytical Study of Leadership and Good Governance in Educational Administration) โดย น้ำอ้อย คำชื่น สรุปว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำขึ้นอยู่กับการได้รับการศึกษาในระบบและนอกระบบ ประสบการณ์การเรียนรู้ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ส่วนผู้นำทางการบริหารงานการศึกษาจะต้องเป็นผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาบริหารจัดการองค์การให้บรรลุเป้าหมาย และการที่จะทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้ ผู้บริหารการศึกษาต้องแสดงภาวะผู้นำ
- ทฤษฎีความรู้ทางจิตวิทยาศาสนา (The Theory of Knowledge in Psychology of Religion) โดย วิรัตน์ กางทอง สรุปว่า ในเบื้องต้นนี้ นักปรัชญาจิตวิทยานั้นมีทัศนะว่า สาร หมายถึง สิ่งที่มีภาวะอยู่โดยตัวเองไม่ได้ เป็นจริงเพราะสิ่งอื่น โสเครตีสได้แยกหลักศีลธรรมออกจากศาสนา สอนให้รักษาดวงวิญญาณของตนเอง วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งบุคลิกภาพและปัญญาความรอบรู้ของมนุษย์ ส่วนเพลโต้เป็นนักปรัชญาจิตวิทยาสำคัญของโลกและเป็นนักการศึกษาคนแรกของยุโรป เป็นนักปรัชญาจิตวิทยาคนแรกที่สร้างระบบปรัชญาจิตวิทยาให้สมบูรณ์ก่อนใครๆ ทั้งหมด สืบเนื่องจากว่าปรัชญาจิตวิทยาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของความคิด ข้อแนะนำ โดยถือเอาอัตตาหรือทัศนคติของตนเป็นหลัก
- จักกวัตรสูตรและการสังเคราะห์สังคมไทยที่พึงปราถนา (Cakkavatti Sutra and Synthesis of the Thai Perfection Society) โดย ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์ สรุปว่า บทความเรื่องนี้มีความมุ่งหมายวิเคราะห์จักกวัตรสูตรที่ปรากฏในคัมภีร์ พระไตรปิกฎ เพื่อนำมาสังเคราะห์สังคมไทยที่พึงปราถนาซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอใน 2 ประเด็น คือ 1) ความหมายและความสำคัญของจักกสูตรจักกวัตติสูตรเป็นพระสูตรสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับการปกครองหมู่คณะที่เป็นเหตุสนับสนุนให้สังคมเจริญขึ้นหรือเสื่อมถอยลง เพราะคุณค่าของจักกวัตติสูตรมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ 1) คุณค่าในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาด้วยการทำตนให้เป็นที่พึ่ง และ 2) คุณค่าในการปกครองโดยใช้หลักจักรวรรดิวัตร 12 ประการ เพื่อใช้แก้ปัญหาของสังคมใน 3 ระดับ คือ (1) ระดับปัจเจกบุคคล (2) ระดับสังคมครอบครัว และ (3) ระดับสังคมโดยรวม และ 2) การสังเคราะห์สังคมไทยที่พึ่งปรารถนานั้นคือวิถีทางเข้าสู่สังคมอุดมคติ เพราะคุณธรรมนั้นจะทำให้สังคมเข้มแข็งและธรรมชาติของมนุษย์แก้ไขได้ยากมนุษย์จะต้องถูกควบคุมด้วยความกลัวการถูกลงโทษ โดยการจัดรูปแบบสังคมใหม่ให้มีองค์อธิปัตย์เป็นผู้คอบควบคุมและลงโทษผู้ละเมิดสัญญา ซึ่งจะช่วยบรรเทาให้มนุษย์ประพฤติชั่วน้อยลงและจำกัดความอยากลงได้บ้าง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างจักกวัตรสูตรกับการสังเคราะห์สังคมไทยในปัจจุบัน
- วิเคราะห์ปรากฏการณ์กับความจริง (An Analysis of Phenomena and Reality) โดย สิริมิตร สิริโสฬส สักชาติ ศรีสุข และ สิริพร ครองชีพ สรุปว่า ปรากฏการณ์ มาจากภาษากรีกว่า Phenomenon หมายถึง การปรากฏขึ้น คำที่เกี่ยวข้องกับ ?จริง? ในปรัชญาตะวันตกเทียบกับข้อความของพุทธเถรวาทได้ 4 คำ คือ ข้อเท็จจริง ความจริง ความเป็นจริง ความเป็นจริงสูงสุด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในระดับสูงสุดนั้น เพื่อให้เกิดรู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง รู้เท่าทัน ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งหลาย หลุดพ้นจากความทุกข์ และมองโลกตามความเป็นจริง
เผยแพร่แล้ว:
02/06/2022