เกี่ยวกับวารสาร

วัตถุประสงค์และขอบเขตของการตีพิมพ์

วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร จัดทำขึ้นในปี พ.ศ.2565 ในรูปแบบตีพิมพ์ และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 

ISSN 2821-9821 (Print)

ISSN 2821-9562 (Online)

วัตถุประสงค์ (Objective)

1) เพื่อเผยแพร่วารสารทางด้านธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี เทคโนโลยีการจัดการและนวัตกรรม เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐศาสตร์และการเงิน บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์ทางด้านการสื่อสาร (นิเทศศาสตร์) รูปแบบตีพิมพ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับละ 5 เรื่อง

2) เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการให้แก่นักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแนวคิด หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณาจารย์และบุคคลกรทางการศึกษา

ขอบเขตของการตีพิมพ์

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเป็นบทความที่เสริมสร้างองค์ความรู้และมีคุณภาพทางวิชาการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการอ้างอิง การศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษาได้ทางด้านธุรกิจทั่วไป การจัดการและการบัญชี เทคโนโลยีการจัดการและนวัตกรรม เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เศรษฐศาสตร์และการเงิน บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์ทางด้านการสื่อสาร (นิเทศศาสตร์) 

ประเภทของบทความ (Type of Article)

ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการประเภท บทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) 

กระบวนการประเมินบทความ (Peer Review Process)

ประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญสำหรับแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่าบทความดังกล่าวเป็นที่ยอมรับหรือปฏิเสธ ในลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ต่างสังกัดหน่วยงาน ต่อการประเมิน 1 บทความ ที่มีความเชี่ยวชาญสำหรับบทความ มีวิธีการประเมินแบบ Double-blind review 

กำหนดการตีพิมพ์ (Publication Frequency) 

วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร ดำเนินการโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีการเผยแพร่เป็นราย 6 เดือน ตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับต่อปี ได้แก่

ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน และอัพโหลดวารสารในเดือนมิถุนายน

ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม และอัพโหลดวารสารในเดือนธันวาคม

ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ

วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ (ฟรี)  โดยวารสารฯ ได้รับเงินสนับสนุนจากงานวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่