จริยธรรมการตีพิมพ์วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร

               วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นในการที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน จึงขอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามหลักการและจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานอย่างเคร่งครัด

 

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

               1. บรรณาธิการจะจัดสินใจตอบรับบทความหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ ความทันสมัย และความชัดเจนของบทความ ตลอดทั้งความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร โดยปราศจากความอคติที่มีต่อบทความ และผู้ส่งบทความในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และต้นสังกัดของผู้ส่งบทความ

               2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ส่งบทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

               3. บรรณาธิการจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ส่งบทความหรือผู้ทรงคุณวุฒิ

               4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

               5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดการคัดลอกผลงานผู้อื่น ซึ่งหากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนบทความทันที เพื่อปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น ๆ

               6. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและส่งบทความ

               7. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด และรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยเสมอ

               8. บรรณาธิการต้องเต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอดหรือถอนบทความและการขออภัย หากจําเป็น หรือพบว่ามีการผิดพลาดที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น

 

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)

               1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

               2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาบทความภายใต้หลักวิชาการ โดยปราศจากอคติ

               3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานที่รับประเมินอย่างแท้จริง

               4. หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ทรงคุณวุฒิ ตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ ควรรีบแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสารทราบ และไม่รับพิจารณาประเมินบทความดังกล่าว

               5. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแล้วพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่มีความซ้ำซ้อนกับผลงานชื้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรีบแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสารทราบ

               6. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร กำหนดไว้

 

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

               1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานของผู้เขียนที่จัดส่งมานั้น เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน

               2. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดจากการทำวิจัย ไม่แต่งเติมข้อมูล ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

               3. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งให้ชัดเจน อ้างอิงแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบและเข้าถึงได้

               4. ผู้เขียนต้องไม่นําผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร

               5. ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในผลงานชิ้นนั้นอย่างแท้จริง

               6. ผู้เขียนควรจะต้องเปิดเผยแหล่งทุนสนับสนุนการจัดทำบทความ

               7. ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ถูกต้อง ตามรูปแบบที่วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร กำหนดไว้อย่างชัดเจน “สำหรับผู้แต่ง”

               8. ผู้เขียนต้องส่งแบบฟอร์มนำส่งบทความ ตามรูปแบบที่วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร กำหนดไว้อย่างชัดเจน “แบบฟอร์มนำส่งบทความ”